fbpx
Card image cap

InterGOLD Series : ทองคำตัวเอกในโลกการเงินโลก EP 3 จุดเริ่มต้นการครองโลกของสกุลเงินดอลลาร์

วันที่ 9 ธันวาคม 2563 เวลา 15.52 น.

InterGOLD Series : ทองคำตัวเอกในโลกการเงินโลก EP 3 จุดเริ่มต้นการครองโลกของสกุลเงินดอลลาร์

ก่อนที่เราจะมาอ่านกันใน EP 3 นี้เพื่อนๆคนไหนที่ยังไม่เข้าใจที่มาของระบบการเงิน อยากให้ย้อนกลับไปอ่านใน EP 1 จุดเริ่มต้นระบบการเงินโลก และ EP 2 ทำไมระบบการเงินจึงต้องมีทองคำ กันก่อนนะครับ

การเกิดสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งส่งผลให้เงินกระดาษเพิ่มมากขึ้นจนทำให้ไม่สมดุลกับปริมาณทองคำ เเละประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ขั้วอำนาจของโลกได้เปลี่ยนไปจากประเทศในฝั่งยุโรปย้ายฝั่งมาเป็นทางสหรัฐอเมริกาขึ้นมามีอำนาจแทน เนื่องจากประเทศในแถบยุโรปได้รับความบอบช้ำจากภาวะสงครามโลกทั้ง 2 ครั้งอย่างหนักหน่วง และรวมถึงที่สหรัฐฯเองก็เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่กับประเทศทางฝั่งยุโรปที่รบกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสหรัฐฯ ได้ขอให้ประเทศแต่ละประเทศชำระหนี้ด้วยทองคำแทนเงินกระดาษ

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ระบบการเงินระหว่างประเทศก็เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่าน ส่งผลให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างทุลักทุเลด้วยทำให้หลายประเทศเริ่มคิดว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบระบบการเงินกันอีกรอบขนานใหญ่กันอีกซักรอบ

ค.ศ. 1944 ได้มีการจัดประชุมเพื่อหารือเรื่องดังกล่าวที่ เมืองเบรตตันวูดส์ รัฐนิวแฮมป์เชียร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในท้ายที่สุดการประชุมครั้งนี้ก็เป็นที่มาของระบบ Bretton Woods ตามชื่อเมืองที่มีการประชุมนั่นเอง

ในส่วนของรายละเอียดของระบบ Bretton Woods นั้นก็มีความคล้ายคลึงอยู่กับระบบ Gold Standard เดิมอยู่หลายจุดด้วยกันนี้

  1. ยังคงใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ แต่ไม่ใช่ระบบมาตรฐานทองคำดังในอดีตเพราะสามารถปรับได้ในระดับหนึ่ง และหากประเทศสมาชิก IMF เจอปัญหาขาดดุลการชำระเงินจำนวนมากหรือเรื้อรัง สามารถปรับอัตราแลกเปลี่ยนได้ สาเหตุที่ปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนสามารถเคลื่อนไหวได้เพื่อปิดข้อเสียของระบบมาตรฐานทองคำเดิมนั่นเอง ซึ่งอาจทำให้หลายๆประเทศแข่งกันลดค่าเงินของตัวเองอีกครั้ง ดังนั้น ก็เลยปล่อยให้ลดได้แต่มีการควบคุมจะดีกว่า

เเต่ข้อที่สำคัญมากๆ ข้อต่อไปนี้ครับ

  1. ข้อตกลงข้างต้นกำหนดให้ทองคำและเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ และกำหนดให้เงินดอลลาร์มีค่าคงที่กับทองคำได้กำหนดให้ทองคำ 1 ออนซ์ เท่ากับ 35 ดอลลาร์ และดอลลาร์สามารถเปลี่ยนเป็นทองคำได้โดยไม่จำกัด จะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์นี้เองที่ทำให้ความน่าเชื่อถือของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกจนถึงทุกวันนี้ เเละ ข้อเสนอดังกล่าวนี้แหละครับ ที่เป็นต้นเหตุให้ราคาทองคำและเงินดอลลาร์สหรัฐฯสวนทางกันในปัจจุบันนี้

โดยผลของข้อตกลงที่เกิดขึ้นและส่งผลมาถึงปัจจุบันอย่างแรกเลยก็คือค่าเงินดอลลาร์จะกลายมาเป็นสื่อกลางในการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งในช่วงเเรกทุกอย่างก็เป็นไปอย่างราบรื่นดีเนื่องจากตอนนั้นเศรษฐกิจสหรัฐฯมีความแข็งแกร่งรวมถึงมีทองคำมากที่สุดในโลก และจากการใช้ระบบดังกล่าวนี้เองส่งผลให้สหรัฐฯมีบทบาทอย่างมากต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของโลกจวบจนถึงปัจจุบันนี้

ราอาจสรุปสั้นๆระบบ Bretton Woods นี้เองที่ทำให้สหรัฐฯมีบทบาทมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งลากยาวมาถึงปัจจุบันนี้ เนื่องมาจากเงื่อนไขสำคัญที่ให้ทุกชาติต้องผูกค่าเงินไว้กับทองคำหรือดอลลาร์และกำหนดให้ทุกประเทศสามารถนำเงินดอลลาร์ที่ตนมีมาแลกกับทองคำจากสหรัฐฯได้ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อ 1 ออนซ์ 

ดูๆ ไปเเล้วระบบ Bretton Woods ก็ดูเป็นระบบเข้าท่าอยู่เพราะพัฒนาต่อยอดมาจากระบบ Gold Standard ซึ่งก็ปิดจุดปัญหาของ Gold Standard ได้เเทบทั้งหมดเพราะแต่ละประเทศก็สามารถปรับเปลี่ยนค่าเงินของตนได้  ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ไม่ต้องตรึงอัตราแลกเปลี่ยนไว้เหมือนมาตรฐานทองคำและมีองค์กรคอยกำกับดูแลเรื่องดังกล่าวอยู่ (IMF) รวมถึง สามารถพิมพ์เงินได้มากขึ้น เนื่องจากเงินดอลลาร์ที่ทุกประเทศต้องเอาค่าเงินไปผูก ด้วยนั้น ก็ผลิตกันได้ง่ายกว่าทองคำ และมีความน่าเชื่อถือด้วย เพราะหากอยากได้ทองคำมาเก็บไว้ ก็เอาดอลลาร์ไปแลกทองคำจากสหรัฐฯ 

แต่ทุกระบบย่อมมีจุดอ่อนครับอย่างที่กล่าว เช่นเดียวกับระบบ Bretton Woods นี้เเละเผลอๆ จุดอ่อนของมันจะใหญ่กว่าของ Gold Standard ด้วยซ้ำไปครับ…

จะเห็นได้ว่าด้วยตัวระบบของ Bretton Woods นั้นทำให้ สหรัฐฯมีส่วนเข้าไปเกี่ยวกับเเทบทุกประเทศ ผลที่ตามมาทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯกลายมาเป็นสื่อกลางสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศ อีกนัยหนึ่งก็คือ ระบบนี้จะไปรอดหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับตัวเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั่นเอง !!!  ซึ่งช่วงแรกๆก็ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นดี เพราะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เองก็ค่อนข้างเเข็งเเกร่งเพราะประเทศอื่นยังเมาหมัดกับช่วงสงครามโลกอยู่ ปริมาณเงินดอลลาร์ในช่วงแรกๆก็ยังมีไม่มากนัก 

แต่ทั้งนี้ สหรัฐฯก็ต้องการโชว์ถึงความเเข็งเเกร่งเเละความเป็นมหาอำนาจเบอร์ 1 ของโลกจึงได้เริ่ม Marchall Plan ซึ่งเป็นแผนการในการเข้าไปช่วยประเทศในยุโรปที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก ซึ่งมีการสรุปตัวเลขคร่าวๆ ของงบประมาณ Marchall Plan ออกมาซึ่งมีมูลค่าถึง  12,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งตัวเลขนี้ในยุคนั้นก็ถือว่ามหาศาลมากอีกทั้ง เมื่อสหรัฐฯเริ่มเข้าไปมีบทบาทต่อโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เงินดอลลาร์เป็นสื่อกลางในการค้าขายระหว่างประเทศ สหรัฐฯก็ต้องพิมพ์เงินออกมาตลอดเวลา รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯที่เน้นการบริโภคเป็นหลัก ทำให้ต้องมีการนำเข้าสินค้ากันอีก ก็ขาดดุลการค้ากันอย่างมโหฬาร

 แต่เราคงยังไม่ลืมกฎข้อหลักข้อหนึ่งของระบบ Bretton Woods ใช้มั้ยครับที่ว่าไว้ว่า

ทองคำ 1 ออนซ์ เท่ากับ 35 ดอลลาร์

จริงอยู่ที่ว่าสหรัฐฯ นั้นเป็นประเทศที่มีทองคำถือครองอยู่มากที่สุด แต่ทองคำมีได้มันก็หมดได้ครับ จากการที่สหรัฐฯเข้าไปวุ่นวายกับโลกการค้าขนาดนั้น ทำให้แต่ละประเทศในโลกเริ่มเกิดคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของเงินดอลลาร์เอง ว่าจริงๆเเล้วเงินที่พิมพ์ออกมานั้นมีทองคำหนุนอยู่จริงๆ รึเปล่า ?

โดยเฉพาะในช่วงปี 1960-1970 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงนั้น แม้ว่าทางสหรัฐฯจะยังคงเป็นประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจของโลกเสรี แต่ประเทศผู้แพ้สงคราม อย่างญี่ปุ่น และเยอรมนี ต่างก็มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เเซงทางสหรัฐฯซึ่งเหตุผลหลักๆก็คือเรื่องการค้าระหว่างประเทศนั่นเองเพราะมีความได้เปรียบทางค่าเงินทำให้ราคาสินค้าถูกกว่าโดยเปรียบเทียบ ในขณะที่สหรัฐฯกลับประสบปัญหาการขาดดุลการชำระเงินอย่างมหาศาล เเละยิ่งโดนซ้ำเติมจากการใช้จ่ายที่เกินตัวในสงครามเวียดนามอีก

แม้จะมีความพยายามตั้งกองทุนทองคำขึ้นมาเพื่อรักษาระบบนี้ไว้ แต่ด้วยเศรษฐกิจสหรัฐฯที่อ่อนแอลง ก็ทำให้เกิด Event ช็อคโลกขึ้นมา….

ในวันที่ 15 สิงหาคม 1971 ประวัติศาสตร์การเงินของโลกได้บันทึกไว้ว่า เป็นวัน ‘Nixon’s Shock’ เนื่องจากเป็นวันที่ประเทศสหรัฐฯ ประกาศงดรับแลกเงินดอลลาร์ เป็นทองคำ และถือเป็นการล่มสลายของระบบ Bretton Woods ไปด้วยนั่นเอง

ซึ่งเหตุการณ์ ณ ตอนนั้นทำให้หลายๆฝ่ายเชื่อกันว่ามันคือจุดจบของเงินดอลลาร์เเละทางสหรัฐฯ ไปในตัวเเต่ในเรื่องจริงเเล้วกลับไม่เป็นเช่นนั้นครับ…

#ซื้อขายทองคำแท่ง#ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์#ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์#InterGOLD#ลงทุนทองคำแท่ง

สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
 Website : www.intergold.co.th
 Line : @intergold
 Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
Call : 02 – 2233 – 234

หรือสมัครเปิดพอร์ตออนไลน์คลิก : https://bit.ly/3dUqjSz



ราคาทอง
23 พฤศจิกายน 2567 | 10:48:21

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
23 พฤศจิกายน 2567 | 10:45:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
877.97

0.00

238.60

-0.43