นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 32.68 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้า
ที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.69 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันลงไปทดสอบ New Low ในรอบ 2 ปีครึ่งที่ระดับ 32.66 บาท/ดอลลาร์
“ระหว่างวันมีลงไปทำแตะ 32.66 เป็น New Low ในรอบ 2 ปีครึ่งจากมีแรงเทขายดอลลาร์ แต่สักพักเดียวก็มีแรงซื้อ
กลับทำให้เงินกลับอ่อนค่ากลับขึ้นมา โดยช่วงนี้ตลาดยังขาด Movement ที่ชัดเจน และช่วงนี้ Flow ที่เข้ามาก็เริ่มเบาบางลงแล้วแตก
ต่างจากหลายวันที่ผ่านมาที่มีเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง”นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า สำหรับวันจันทร์หน้ามองว่ากรอบของเงินบาทน่าจะอยู่ที่ 32.65-32.75 บาท/ดอลลาร์ ส่วน
กรอบสัปดาห์คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 32.60-32.85 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.44 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 111.34 เยน/ดอลลาร์
– เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1866 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1848 ดอลลาร์/ยูโร
– ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,695.84 จุด ลดลง 11.54 จุด, -0.68% มูลค่าการซื้อขาย 56,519.98 ล้านบาท
– สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 724.41 ลบ.(SET+MAI)
– ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดว่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า (27 พ.ย.-1 ธ.ค.) จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 32.50-
32.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยยังต้องจับตาประเด็นเรื่องความคืบหน้าของกฎหมายปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯเป็นประเด็นหลัก
– ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้ผ่าน 10 เดือนแรกของปีนี้ การขยายตัวของสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยจะเติบ
โตเพียง 1.86% จากสิ้นปีก่อน แต่ด้วยโมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 3 ที่ดีกว่าที่คาด ด้วยแรงส่งของการส่ง
ออกที่เติบโตสูงด้วยเลขสองหลัก ประกอบกับการเร่งรัดการลงทุนภาครัฐในช่วงต้นปีงบประมาณ 2561 ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังคง
ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ไว้ที่ 4% โดยคาดหมายว่าสินเชื่อภาคธุรกิจน่าจะกลับมาเบิกใช้วงเงินสูงขึ้นในช่วงที่เหลือ
ของปี โดยเฉพาะในธุรกิจที่มีส่วนสัมพันธ์กับการส่งออก
– นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในการเป็นประธานเปิดการสัมมนาผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ
SOE CEO Forum 2017 ว่า รัฐบาลอยากให้รัฐวิสาหกิจช่วยเศรษฐกิจให้มากกว่านี้ ไม่ใช่แค่เรื่องการเบิกจ่ายงบลงทุน แต่อยากให้
เข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือเศรษฐกิจท้องถิ่นและรากหญ้า โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งในปีหน้ารัฐบาลจะมุ่งเน้นเรื่อง
ดังกล่าวเป็นวาระสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะเรื่องดังกล่าวถือเป็นภารกิจสำคัญที่รัฐบาลมุ่งดำเนินการ ได้แก่ เรื่องการ
ปฏิรูปเศรษฐกิจ และการแก้ปัญหาความยากจน
– ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดงานสัมมนา Cyber Resilience Leadership เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจถึงความสำคัญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่คณะกรรมการ และผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน สถาบันการ
เงินเฉพาะกิจ ผู้ให้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงิน รวม 52 แห่ง มีผู้เข้าร่วมกว่า 250
คน
พร้อมระบุว่า ธปท. ตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับความพร้อมรับมือภัยไซเบอร์ของสถาบันการเงิน และได้บรรจุ
ไว้ในแผนยุทธศาสตร์ 3 ปี (ปี 2560-2562) ด้าน Cyber Resilience ซึ่งมีการประเมินความพร้อมของสถาบันการเงินในการรับ
มือภัยไซเบอร์ และผลักดันให้มีความร่วมมือในภาคการเงิน ทั้งระดับสถาบันการเงิน หน่วยงานกำกับดูแล และองค์กรภาครัฐ ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ
– ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช.ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม
ลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง พ.ศ… ในวาระแรกด้วยคะแนน 186 งดออกเสียง 3 พร้อมตั้งคณะ
กรรมาธิการฯ ขึ้นมาพิจารณาต่อไป โดยกำหนดเวลาแปรญัตติให้เสร็จภายใน 7 วัน
– รายงานผลการวิจัยล่าสุดของฟิทช์ กรุ๊ป ระบุว่า เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มปรับตัวดี
ขึ้นในปี 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากความร่วมมือในภูมิภาค ระบบการขนส่งที่ดีขึ้น และการเดินหน้าปฏิรูปของภาครัฐ
– หน่วยงานกำกับดูแลด้านการธนาคารของจีนได้ออกร่างมาตรการสำหรับธนาคารพาณิชย์ในวันนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะ
สนับสนุนให้ธนาคารพาณิชย์บริหารจัดการความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ยได้ดีขึ้น ในช่วงเวลาที่จีนกำลังเดินหน้าปฏิรูปการเปิดเสรีอัตรา
ดอกเบี้ย มาตรการดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562
– ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำเดือนต.ค.เมื่อวานนี้ โดยระบุว่า กรรมการ ECB มี
ความคิดเห็นที่แตกต่างกันในประเด็นที่ว่า ECB ควรประกาศถอนมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) หรือไม่ นอกจากนี้ กรรมการ
ECB หลายคนยังไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB ที่ส่งสัญญาณการขยายระยะเวลาการใช้มาตรการ QE
ออกไปหลังจากครบกำหนดในเดือนก.ย.ปีหน้า
– Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวขึ้นสู่ระดับ
117.5 ในเดือนพ.ย. จากระดับ 116.7 ในเดือนต.ค.