ทำไมเงินกระดาษถึงมีวันสูญสลาย แต่ทองคำกลับมีค่าเป็นอนันต์
ทำไมในบทความนี้ผมจึงบอกว่าเงินกระดาษมีโอกาศสูญสลาย หรือมีค่าเป็นศูนย์ แต่กลับกันทองคำกลับมีค่าเป็นอนันต์ หรือก็คือมีค่าตลอดไปนั่นแหละ ผมจะขอขยายความก่อนเริ่มเนื้อหาของเราก่อนนะครับ
.
ทุกคนคงจะรู้กันดีใช่ไหมครับ ว่าจริงๆ แล้วธนาคารกลางของทุกประเทศสามารถผลิต หรือพิมพ์เงินเข้าสู่ระบบเองได้ โดยเราจะเห็นกันโดยทั่วไปในยุโรป อเมริกา หรือจีนเองก็ตามครับ แต่หลายคนก็คงมีข้อสงสัยและแย้งผมกลับทันทีว่า แท้จริงแล้วบางประเทศพิมพ์เงินเองไม่ได้ ดูอย่างไทยสิ ถ้าไม่มี Reserve (ทุนสำรองระหว่างประเทศ) ก็ไม่สามารถพิมพ์เองได้ตามใจชอบ
.
ต้องบอกแบบนี้นะครับว่าจริงๆแล้วเราทำได้ครับ แต่ด้วยกลไกตลาดทำให้เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้เฉยๆครับ
.
ยกตัวอย่างครับเช่นประเทศไทยเป็นประเทศที่เกินดุลทางการค้า (ส่งออกมากกว่านำเข้า) ทำให้ค่าเงินบาทเรามีแนวโน้มแข็งค่า แต่ถ้ารัฐบาลบอกว่าอยากพิมพ์เงินเพื่อทำให้จำนวนเงินบาทเยอะขึ้นและจะนำไปสู่การอ่อนค่าของเงินบาท จุดประสงค์เพื่อทำให้ราคาสินค้าของเรานั้นไม่แพงกว่าคู่แข่งในตลาดโลกครับ ถามว่าจากปัจจัยนี้ ใครได้ประโยชน์ก็คงต้องบอกว่าประเทศไทยถูกไหมครับ แต่เราลองมองกลับกันบ้างครับ ว่าประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งออกสินค้าประเภทเดียวกันกับเราเค้าจะอยู่เฉยไหม โดยเฉพาะมหาอำนาจอย่างจีน หรืออเมริกาเองก็ตามครับ
.
ทำให้นโยบายการเงินถึงโดนกดดันอยู่ตลอดเวลาครับ ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดเจนจากการที่รัฐบาลอเมริกาเคยข่มขู่ประเทศต่างๆที่กำลังแทรกแทรงค่าเงินของตัวเองเพื่อให้ประเทศตนได้ผลประโยชน์ ประเทศเล็กๆจึงกลัวและกังวลการคว่ำบาตรจากประเทศรายใหญ่ เป็นเหตุผลจริงๆแล้ว ทุกๆประเทศสามารถพิมพ์เงินเองได้ แต่มีปัจจัยที่มากดดันเอาไว้ทำให้ไม่สามารถพิมพ์ได้แค่นั้นเองครับ
ก่อนอื่นผมขออธิบายหลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆก่อนครับว่า เมื่อคนต้องการซื้อสินค้าชนิดหนึ่งจำนวนมากๆ แต่จำนวนสินค้าไม่เพียงพอ สินค้านั้นมักจะราคาขึ้นครับ และกลับกันครับเมื่อสินค้าบางชนิดถูกผลิตมามากเกินไป เมื่อเทียบกับความต้องการในตลาดที่น้อยกว่า สินค้านั้นก็จะราคาลงครับ เป็นหลัก Deman&supply ง่ายๆนะครับ
.
เราขอโยงมาถึงเงินกระดาษทุกวันนี้กันครับว่าถ้าการควบคุมปริมาณที่ไม่พอดี กับความต้องการของเงินนั้นๆ ก็มีโอกาศทีจะสูญสลาย หรือมูลค่าลดลงจนกลายเป็นศูนย์ได้เช่นกันครับ เราจะเห็นตัวอย่างหลายๆประเทศนะครับ เช่น สกุลเงินมาร์ค ของเยอรมนี หรือ โบลิวาร์ ของเวเนซุเอลา ซึ่งประเทศข้างต้นเงินไม่มีค่าแล้วครับ แต่ปัจจัยต่างๆนั้นก็อาจขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจด้วย นี่หละครับคือที่มาของเงินกระดาษมีโอกาสที่จะสูญสลายได้ตลอดเวลาครับ อาจจะอยู่ที่ขั้นตอนของเวลา และการบริการประเทศของช่วงเวลานั้นๆ
ต่อมาเรามาดูที่ทองคำกันบ้างครับ ทำไมผมถึงบอกว่าทองคำมีค่าเป็นอนันต์ เราอาจต้องบอกว่าทองคำก็มีโอกาสมีค่าเป็นศูนย์ได้เช่นเดียวกันครับ เมื่อความน่าเชื่อถือของทองคำนั้นไม่มีอยู่แล้ว หรือทองคำสามารถผลิตได้ไม่มีจำนวนจำกัดครับ เราจะขอแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นนะครับ
.
1. ความน่าเชื่อถือ
2. ผลิตได้หรือไม่
ประเด็นแรกครับ ความน่าเชื่อถือของทองคำ ทองคำถูกพิสูจน์มามากกว่า 1,000 ปีแล้วนะครับว่าเป็นสินทรัพย์ที่ให้การยอมรับกันแพร่หลายในโลกครับ โดยเราจะเห็นว่าในสมัยโบราณก่อนที่เราจะมีเงินกระดาษใช้ทองคำถูกใช้เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันครับ หลังจากนั้นเมื่อเงินกระดาษถูกสร้างขึ้นมาเป็นสื่อกลาง ทองคำก็ยังคงต้องใช้ในการเป็นหลักค้ำประกันเงินกระดาษนั้นๆครับ โดยล่าสุดถึงทุกวันนี้ ทองคำไม่ได้ถูกใช้แค่เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันเงินกระดาษแล้ว แต่ต้องบอกว่ายังคงใช้เป็นสินทรัพย์ค้ำประกันความมั่นคงของสกุลเงินประเทศนั้นๆอยู่ด้วย และเมื่อเวลาผ่านไปจนถึง ณ ตอนนี้ ทองคำก็กำลังเป็นเครื่องพิสูจน์มูลค่าชั้นดีเมื่อเทียบกับเงินกระดาษที่กำลังด้อยค่ากันในโลกครับ ยกตัวอย่างเช่น รัสเซีย ไทย จีน หรือหลายๆประเทศครับ ที่เพิ่มทุนสำรองเป็นทองคำ เมื่อค่าเงินตัวเองเริ่มด้อยคุณค่าครับ
.
ขอเข้าสู่ประเด็นที่สองนะครับว่าทองคำผลิตได้หรือไม่ ผมขอเริ่มเล่าจากจุดกำเนิดของทองคำก่อนว่าทองคำบนโลกเราทุกวันนี้ กำเนิดมาอย่างไร เมื่อประมาณเกือบๆ 80 ปีที่แล้วครับนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ทองคำในโลกนี้ไม่ได้กำเนิดจากโลกครับ แต่คาดว่าจะเป็นอุกกาบาตที่มาชนโลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทองคำนั้นเป็นธาตุที่มีเลขอะตอมเป็น 79 โดยการเกิดธาตุนี้ได้นั้นต้องเกิดจากการหลอมอะตอมโดยใช้พลังงานมหาศาล อาจกล่าวได้ว่าปฎิกิริยานิวเคลียร์ยังไม่มีพลังงานมากพอจะหลอมได้เลยครับ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่ากำเนิดของทองคำนั้นมาจากการเกิดซุปเปอร์โนวาของดาวขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์กว่า 100 เท่ามาชนกัน ซึ่งขบวนการนี้จะเกิดพลังงานมหาศาลโดยแพร่กระจายมวลสารไปทั่วจักวาล ซึ่งทองคำก็รวมอยู่ในนั้นด้วย หลายคนอาจถามว่าสามารถค้นหาดาวเคาะห์น้อยหรือเศษดาวเพื่อเก็บทองคำได้ไหม ก็อาจตอบว่าได้แต่ต้นทุนคงแพงมหาศาลน่าดู เพราะฉะนั้นเราอาจบอกได้ว่าทองคำมีจำนวนจำกัดที่อยู่ในโลกเท่านั้นครับ โดยการประเมินคร่าวๆ แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากเป็นทางการอยู่ที่ 171,300 ตัน ณ ปัจจุบันถูกขุดไปแล้วประมาณ 160,000 ตัน
จริงๆแล้วทองคำสามารถกำเนิดได้อีก 1 วิธี คือการเล่นแร่แปรธาตุ โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคเป็นตัวทำปฎิกิริยากับอะตอมครับ โดย Au น้้นเป็นธาตุที่มีโปรตรอน 79 ตัว สำหรับปรอทมี โปรตรอน 80 ตัว และแพทตินัมมีโปรตรอน 78 ตัว เราอาจกล่าวได้ว่าเราสามารถเพิ่มโปรตรอน 1 ตัวให้แพทตินัมหรือลด โปรตรอน 1 ตัวจากสารปรอท ก็จะเป็นทองคำ แต่ในทางปฎิบัติไม่ง่ายเช่นนั้น เพราะต้องผ่านเครื่องเร่งอนุภาคเพื่อลดหรือเพิ่มโปรตรอน โดยความเสถียรของพลังงานนั้นก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ โดยผลสรุปเลยครับว่าทองคำสามารถสร้างได้ครับ ด้วยมูลค่า 1,000 กว่าดอลต่อไม่กี่กรัมเท่านั้น เนื่องจากความเสถียรของอนุภาคและความคลาดเคลื่อนต่างๆนาๆทำให้มีโอกาสเกิดธาตุใหม่ต่ำมากครับ ยิ่งไปกว่านั้นทองคำที่เกิดขึ้นมาอาจมีกัมมันตภาพรังสีติดมาด้วยครับ ทำให้ไม่สามารถซื้อขายในตลาดได้ ซึ่ง ณ ปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่าไม่มีใครเขาทำกันครับ เพราะขาดทุนและนำไปใช้จริงไม่ได้ครับ
บทสรุปนะครับ เราจะเห็นความแตกต่างของเงินกระดาษกับทองคำอย่างชัดเจนแล้วใช่ไหมครับ ว่าทำไมคุณค่าถึงแตกต่างกัน โดยอาจสรุปได้ว่า เงินกระดาษนั้นไม่มีจำนวนจำกัด และมีปัจจัยคลาดเคลื่อนต่างๆนาๆ ซึ่งอาจนำไปสู่มูลค่า 0 ได้ในวันใดวันหนึ่ง แต่ทองคำนั้นเราจะเห็นเลยว่าเป็นสินทรัพย์ที่คงทนและไม่สามารถผลิตขึ้นมาใหม่ได้ครับ เมื่อเวลาผ่านไปทำให้ทองคำนั้นมีมูลค่าเป็นอนันต์ครับ จากปัจจัยที่มีจำนวนจำกัดและความน่าเชื่อถือที่ไม่เสื่อมคลายครับ เพราะยังไม่มีสินทรัพย์ใดในโลกมีคุณสมบัตินี้ครับ