ทองคำมีค่าจริงๆ หรือแค่คิดไปเอง…
.
ถ้าจะถกกันเรื่องนี้ คงต้องย้อนกลับไปดูถึงประวัติ ศาสตร์โลกกันเลยดีกว่าครับ ว่าในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมานั้น ทองคำมีความสำคัญอย่างไรต่ อระบบเศรษฐกิจและสังคมโลก ทองคำคือหนึ่งใน commodityที่ล้ำค่ามากที่สุ ดมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาเลยหรื อไม่ มาลองหาคำตอบไปพร้อมกันครับ
.
1. ยุคตัวเเทนของสิ่งมีค่า (กว่า 1,000 ปีก่อน)
แรกเริ่มเดิมทีก่อนที่ ทองคำจะเข้ามามี บทบาทในโลกการเงินนั้น ทองคำมักจะถูกใช้งานเป็นตั วแทนของสิ่งที่มีค่า โดยมีบทบาทอยู่คู่กับมนุษย์ โลกมาอย่างยาวนานหลายพันปี โดยทองคำมักจะถูกเอาไปผูกโยงกั บศาสนา ความเชื่อ หรือสถาบันกษัตริย์ โดยมีบทบาทในฐานะสิ่งที่แสดงถึ งความมั่งคั่ง ร่ำรวย นอกจากนี้ทองคำยังได้รั บการยอมรับจากทั่วโลกในทุกยุ คสมัย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งละติน ยุโรป อียิปต์ อเมริกา เเละเอเชียโดยทองคำถูกยกให้เป็ นราชาแห่งโลหะ และในบางพื้นที่ก็มีการเริ่มใช้ ทองคำแทนเงินตรามานานเเล้ว เท่านั้นยังไม่พอในยุคสมัยล่ าอาณานิคม ทองคำยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลั กที่ทำให้เกิดการล่าอาณานิคมกั นเลยทีเดียว
.
2. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ในยุคสมัยก่อนเมื่อคนเราจะซื้ อขายสินค้ากัน ทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องนำสินค้ามาเเลกเปลี่ ยนกันโดยตรง ซึ่งเราเรียกการเเลกเปลี่ยนสิ นค้ากันแบบนี้ว่าระบบ Barter Trade แต่ข้อเสียของระบบ Barter Trade นั้นมีหลายประการด้วยกันเเต่ เหตุผลหลักๆเลยคือ มันไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนว่ าการนำสินค้ามาเเลกเปลี่ยนกันต้ องเเลกเปลี่ยนกันในอัตราเท่ าไรรวมถึ งความยากลำบากในการพกพาเเละการข นส่งอีกด้วย เมื่อ Barter Trade มีประสิทธิภาพต่ำ จึงเริ่มมีการใช้สิ่งของบางอย่ างมาเป็นสื่อกลางในการเเลกเปลี่ ยนตั้งเเต่เปลือกหอย ยันไปถึงโลหะประเภทต่างๆ จนในท้ายที่สุด สิ่งที่ถูกเลือกให้เป็นตั วเเทนในการเเลกเปลี่ยนที่เป็นที่ ยอมรับอย่างเป็นสากลที่สุดก็คื อราชาโลหะอย่างทองคำนั่นเอง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ทองคำนั้นถู กเลือกเป็นสื่ อกลางในการเเลกเปลี่ยนก็คือ ความหาได้ยาก พิสูจน์ความจริงเเท้ได้ง่าย เเละที่สำคัญคือมนุษย์ สามารถเเทรกเเซงกำลังการผลิ ตทองคำได้ยากมาก
.
3. Gold Standard (ค.ศ.1870 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20)
เมื่อใช้ไปได้ซํกระยะหนึ่ง ทองคำเองก็มีปัญหาในการนำไปใช้ งานเช่นกันเพราะ
จริงอยู่ที่มันมีความสะดวกกว่ าระบบ Barter Trade แต่ก็ยังยุ่งยากอยู่ดี ในการพกพาเคลื่อนย้าย หรือเเบ่งซอยให้เล็กลง จึงมีการพัฒนานำเงิ นกระดาษเเละเหรียญเข้ามาใช้ แต่เงินกระดาษเเละเหรียญเหล่านั้ นก็ยังถูก Peg ไว้ด้วยทองคำอยู่กล่าวคือ เงินกระดาษเเละเหรียญทั้งหมดถูก Back ไว้ด้วยทองคำนั่นเอง
.
4. Bretton Wood System (ช่วง 1944-1971)
การเกิดสงครามโลกทั้ง 2 ครั้ง ส่งผลให้เงินกระดาษเพิ่มมากขึ้ นจนทำให้ไม่สมดุลกับปริมาณทองคำ เเละประเด็นที่สำคัญที่สุดก็คือ ขั้วอำนาจของโลกได้เปลี่ ยนไปจากประเทศในฝั่งยุโรปย้ายฝั่ งมาเป็นทางสหรัฐอเมริกาแทน เนื่องจากประเทศในแถบยุโรปได้รั บความบอบช้ำจากภาวะสงครามโลกทั้ ง 2 ครั้ง รวมถึงสหรัฐฯ เองเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่กั บประเทศทางฝั่งยุโรปที่รบกั นมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางสหรัฐฯ ได้ขอให้ประเทศแต่ ละประเทศชำระหนี้ด้ วยทองคำแทนเงินกระดาษ
ในส่วนของรายละเอียดของระบบ Bretton Woods นั้นก็มีความคล้ายคลึงอยู่กั บระบบ Gold Standard เดิม แต่ที่เเตกต่างไปก็คือ มีการกำหนดให้ทองคำและเงินสกุ ลดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ และกำหนดให้เงินดอลลาร์มีค่ าคงที่กับทองคำ โดยได้กำหนดให้ทองคำ 1 ออนซ์ เท่ากับ 35 ดอลลาร์ และดอลลาร์สามารถเปลี่ยนเป็ นทองคำได้โดยไม่จำกัด จะเห็นได้ว่าจากเหตุการณ์นี้ เองที่ทำให้ความน่าเชื่อถื อของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลกจนถึงทุ กวันนี้ เเละข้อเสนอดังกล่าวนี้แหละครับ ที่เป็นต้นเหตุให้ ราคาทองคำและเงินดอลลาร์สหรั ฐฯสวนทางกันในปัจจุบันนี้
โดยเราอาจสรุปสั้นๆได้ว่าระบบ Bretton Woods นี้เองที่ทำให้สหรัฐฯมี บทบาทมากที่สุดในระบบเศรษฐกิ จโลกซึ่งลากยาวมาถึงปัจจุบันนี้ เนื่องมาจากเงื่อนไขสำคัญที่ให้ ทุกชาติต้องผูกค่าเงินไว้กั บทองคำหรือดอลลาร์และกำหนดให้ทุ กประเทศสามารถนำเงินดอลลาร์ที่ ตนมีมาแลกกับทองคำจากสหรัฐฯ ได้ในอัตรา 35 ดอลลาร์ต่อ 1 ออนซ์
.
5. ยุคปัจจุบัน Fiat System (1971-ยุคปัจจุบัน)
ในวันที่ 15 สิงหาคม 1971 ประวัติศาสตร์การเงินของโลกได้ บันทึกไว้ว่า เป็นวัน ‘Nixon’s Shock’ เนื่องจากเป็นวันที่ประเทศสหรั ฐฯ ประกาศงดรับแลกเงินดอลลาร์ เป็นทองคำ และถือเป็นการล่มสลายของระบบ Bretton Woods ไปด้วยนั่นเอง
.
ซึ่งเหตุการณ์ ณ ตอนนั้นทำให้หลายๆฝ่ายเชื่อกั นว่ามันคือจุดจบของเงินดอลลาร์ เเละทางสหรัฐฯ ไปในตัวเเต่ในเรื่องจริงเเล้ วกลับไม่เป็นเช่นนั้นครับ…
.
เพราะปริมาณเงินดอลลาร์ที่เพิ่ มขึ้นอย่างมหาศาลในช่วงนั้นได้ กระจัดกระจายไปอยู่กับทุ กๆประเทศและถือเงินดอลลาร์เป็ นหนึ่งในทุนสำรองกันทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศที่เกินดุลการค้ ากับสหรัฐฯมาตลอด เช่น ญี่ปุ่น พูดง่ายๆก็คือทุกประเทศเก็ บสะสมความั่งคั่งของตัวเองในรู ปเงินดอลลาร์กันไปเป็นจำนวนมาก( แม้จะเก็บทองคำด้วย แต่ก็ยังน้อยกว่าดอลลาร์อยู่ดี) การยุติบทบาทของดอลลาร์จะเป็ นการทำให้ระบบการเงินของโลกพั งครืนลงเลยทีเดียว ซึ่งทุกๆประเทศคงไม่ยอม
.
เอาจริงๆ Fiat System นั้นสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่ ายๆเลยครับ มันคือระบบการเงินที่ไม่จำเป็ นต้องมีอะไรมาหนุนอีกต่อไปแค่ เชื่อใจในประเทศนั้นก็พอ !!! ง่ายๆ แบบนี้เลยครับ ซึ่งมันแทบจะเเตกต่างจากยุคก่ อนอย่างสิ้นเชิง โดยสาเหตุที่ระบบมันออกมาเป็ นแบบนี้ก็เพราะ มหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ เองไม่รู้จะหาทางลงอย่างไรหลั งจากการล่มสลายของ Bretton Woods เพราะปริมาณดอลลาร์ในระบบนั้นมั นมหาศาลมากนั่นเองก็เลยสรุปง่ ายๆว่าให้เชื่อในตัวเศรษฐกิ จของสหรัฐฯ เอง (เอากันดื้อๆ งี้เลย ) ซึ่งทุกประเทศก็ต้ องยอมไปเพราะตอนนั้นดอลลาร์มั นได้กระจายอยู่ทุกส่ วนในโลกไปหมดแล้ว
.
ซึ่งการมาถึงของ Fiat System นั้นเรียกได้ว่าแทบจะเป็ นการเอาทองคำออกไปจากบทบาทการเงิ นของโลกเลยครับ จริงอยู่ที่ธนาคารกลางแต่ ละประเทศยังคงถือทองคำเป็นทุ นสำรองอยู่ แต่ถ้าว่ากันจริงๆ ทองคำนั้นแทบจะหมดบทบาทไม่ได้ เกี่ยวข้องกับระบบ
.
แต่ถึงแม้จะเป็นแบบนั้นก็ไม่ได้ หมายความว่าทองคำจะหมดคุณค่ าลงไปเพราะเมื่อมีวิกฤตต่างๆเกิ ดขึ้นบนโลก ไม่ว่าจะเป็นสงคราม เงินเฟ้อ สถานการณ์ที่ค่าเงินของประเทศนั้ นๆสุ่มเสี่ยงจะไม่มีค่า สิ่งแรกที่คนจะหันมามองก็คือ ทองคำ เพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ ไหนทองคำก็ยังคงเป็นสิ่งที่มีค่ าที่ถูกพิสูจน์มาแล้วกว่าพันปี
สุดท้ายแล้วเศรษฐกิจโลกเมื่ อมาถึงยุคนี้ จะเหลือไว้ก็คงเป็นเรื่ องของความเชื่อของผู้คน เนื่องจากทองคำนั้นมีประวัติ ศาสตร์กับมนุษยชาติมาอย่ างยาวนาน แต่เจ้าสิ่งที่เรียกว่าความเชื่ อนี่แหละครับ บางครั้งมันช่างทรงพลังเหลือเกิ น….
เปิดพอร์ตออนไลน์ : https://bit.ly/3hPrVQi
เข้ากลุ่มพูดคุยลุยกราฟทอง : คลิก https://bit.ly/2qpxhvJ
สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติ ดตามข่าวสารได้ที่
SoundCould : https://soundcloud.com/ intergold-podcast
Spotify : https://spoti.fi/2SDlww7
Line : @intergold https://lin.ee/ jw9R4jm
Facebook : InterGOLD Gold Trade
Call : 02-222-0007