fbpx

เมื่อวิกฤตเงินเฟ้อมาถึง ทำอย่างไรเมื่อข้าวของแพงทั้งแผ่นดิน

วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 เวลา 16.53 น.

เมื่อวิกฤตเงินเฟ้อมาถึง ทำอย่างไรเมื่อข้าวของแพงทั้งแผ่นดิน

เมื่อมีคนบอกว่า เรากำลังเผชิญกับวิกฤตเงินเฟ้อ
เราทำอย่างไรเมื่อข้าวของแพงทั้งแผ่นดิน?
แล้วเงินจะเฟ้อต่อไปได้อีกมั้ย หรือจะพอแค่นี้

.

หลายคนคงจะได้ยินคำว่า “เงินเฟ้อ” ผ่านหูมาบ้าง ยิ่งในสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ทั้งข้าวปลาอาหารที่แพงขึ้น เริ่มมาตั้งแต่หมูแพง ไก่แพง ปลาแพง มาล่าสุดที่ราคาน้ำมันขึ้นกระฉูด และแน่นอนราคาสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็ทยอยกันปรับตัวสูงขึ้นตามมา ไม่เฉพาะในตลาดการลงทุน แต่ในด้านของประชาชนทั่วไปก็มีเสียงบ่นถึงเรื่องภาวะเงินเฟ้อกันออกมาหนาหู เรามาลองวิเคราะห์กันดูว่าวิกฤตเงินเฟ้อที่เราเจอกันอยู่ในตอนนี้มันร้ายแรงแค่ไหน แล้วเรารู้กันหรือไม่ว่าเรื่องราวของเงินเฟ้อมันไม่ใช่แค่ข้าวของราคาขึ้นนะครับ จริงๆแล้วอาจจะมีอะไรมากกว่านั้นวันนี้ Trader InterGOLD จะมาเล่าให้ฟังครับ
.
ก่อนอื่นเลยขอปูพื้นฐานสำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจในระบบเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นก่อนนะครับว่า ‘ภาวะเงินเฟ้อ’ คืออะไร ภาวะเงินเฟ้อก็คือภาวะที่เงินของเรานั้นด้อยค่าลง หรือถ้าแบบเข้าใจง่ายก็คือ เงินจำนวนเท่าเดิมของคุณ ไม่สามารถซื้อสินค้าได้เท่าเดิม
.
ตัวอย่างเช่น เมื่อ 2 ปีก่อน ผมสามารถสั่งปลาแซลมอนในราคาถูกตามช่องทางออนไลน์ต่างๆมากินที่บ้านได้ง่ายมาก แต่ตอนนี้แทบจะหาที่ราคาเท่าเดิมไม่ได้แล้ว ต้องบอกว่าราคาของแต่ละร้านแทบจ่ายปรับขึ้นในทุกสัปดาห์ เพราะราคาสินค้าต่างๆรวมถึงอาหารทะเลพุ่งสูงขึ้นมาหลายเท่าตัว
.
ซึ่งโดยส่วนใหญ่นั้น ภาวะเงินเฟ้อจะขึ้นก็ต่อเมื่อระบบเศรษฐกิจออกมาดีมากครับ พนักงานบริษัทต่างก็ได้เงินเดือนและโบนัสสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นพนักงานเงินเดือนต่างๆ ก็จะใช้เงินแบบยั้งคิดน้อย เนื่องจากคิดว่าเงินสามารถหามาได้ง่าย เมื่อผู้บริโภคอย่างเราๆมีกำลังซื้อที่มากขึ้น ผู้ผลิตสินค้าก็มีแนวโน้มที่จะมีสินค้าทางเลือกที่ดีขึ้นและราคาสูงขึ้นออกมาให้ซื้อหากันมากขึ้น เป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนทำให้เงินเฟ้อถูกดันขึ้นมา เพราะเงินในระบบมันเพิ่มสูงขึ้น และช่วงเวลาแบบนี้นั้นมักจะเกิดกับช่วงอัตราดอกเบี้ยขาลงหรืออยู่นิ่งๆ แต่ระบบเศรษฐกิจเติบโตไว
.
มาถึงจุดนี้คนก็อาจคิดว่าเงินเฟ้ออาจไม่ใช่เรื่องไม่ดีไม่ใช่หรอ เนื่องจากเศรษฐกิจดี เงินเฟ้อถึงสูงตาม กลไกมันก็ดูไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่ในความเป็นจริงแล้วมันมีปัญหาครับถ้าเมื่อไหร่ที่เงินเฟ้ออยู่ในปริมาณที่สูงเกินกว่าจะรับได้ หรือว่าง่ายๆคือ เงินมันเฟ้อไปมากกว่ารายได้ของเราจะตามทันปัญหาก็จะเกิดแน่นอน
.
ผมขอสมมุติแบบนี้นะครับปกติเราเงินเดือน 30,000 บาท แบ่งเป็น
ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 15,000 บาท
ค่าเบ็ตเตล็ด 5,000 บาท
เงินเก็บ 10,000 บาท
แต่ถ้าเราคาดการณ์ว่าบริษัทจะขึ้นเงินเดือนให้เราในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าหรือปีนี้ได้โบนัสเยอะขึ้น
การใช้จ่ายของคุณจะมากขึ้นตามไปด้วยใช่ไหมครับ คุณเองก็กล้าที่จะซื้อสินค้าที่ราคาสูงขึ้นได้บ้างโดยไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนอะไร หรืออาจจะมีการกู้ยืมเงินมาโดยมั่นใจว่าจะชำระดอกเบี้ยได้ หรือตัดสินใจลงทุนอะไรในบางอย่างไป เพราะคาดการณ์ว่ายังไงปีหน้าก็มีเงินมาจ่ายได้อยู่ดี กลไกนี้จะทำให้เงินไหลในระบบสูงขึ้นมหาศาลครับ ซึ่งเป็นเรื่องของ Perception (ความรู้สึก) แต่แล้วเมื่ออนาคตมาถึงจริง เงินเดือนกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นดังหวัง หรือโบนัสอาจจะได้น้อยกว่าที่คาดไว้ เหตุการณ์แบบนี้แหละมันเป็นกับดักของช่วงเศรษฐกิจที่ทำให้คนใช้จ่ายเกินตัวไปล่วงหน้า และสุดท้ายจะนำไปสู่หนี้ที่ไม่สามารถจ่ายได้ และภาวะเงินเฟ้อที่ค่าครองชีพทุกอย่างแพงขึ้น แต่เงินในระบบเศรษฐกิจที่เกิดจากการใช้จ่าย (spending) ของประชาชนกลับมีจำนวนเท่าเดิมไม่สามารถหมุนเวียนได้มากกว่านี้แล้ว
.
ซึ่งนี่คือสถานการณ์ในปัจจุบันที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ครับ ความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นตามมา ก็คือปัญหาทางการเงิน หรือ จำนวนเงินในระบบ (Money Supply) นั่นเอง

เรามาดูภาพ ณ ปัจจุบันนี้ครับว่าทำไมเงินเฟ้อของเราอยู่สูงมากมหาศาลขนาดนี้ได้ เราลองมองย้อนกลับไปถึงปัญหาจริงๆกันครับ ไม่ใช่เพราะ Perception (ความรู้สึก) ไม่ใช่เศรษฐกิจ Recovery (ฟื้นฟู) หรือก็ไม่ใช่ Supply Chain Shock (ระบบห่วงโซ่อุปสงค์อุปทานพัง) ที่ทำให้เกิดเงินเฟ้อหรอกครับ ถามว่ามีส่วนเร่งปฏิกิริยาหรือไม่ ก็คงตอบใช่ แต่ภาพต้นตอจริงๆ ให้ไปดูที่ Money Supply ( จำนวนเงินในระบบ ) ดีกว่าครับ
เงินที่ถูกพิมพ์เข้ามาทั้งโลกในช่วงโควิด-19 จากการใช้นโยบายผ่อนปลนของรัฐบาลต่างๆ กำลังสะท้อนเข้ามาสู่ภาคธุรกิจ หรือง่ายๆคือเงินที่โผล่มาจากการพิมพ์อยู่ดีๆ ก็ลอยมาให้กับนายทุนผ่านการปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยถูกๆ ส่วนคนที่รับเคราะห์จริงๆ อาจบอกได้ตรงๆ ก็คือ คนทั่วไปที่ต้องรับต้นทุนการบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการที่เงินในระบบมีมากเกินไป ถ้าระบบเศรษฐกิจดี และรัฐใช้นโยบายผ่อนปลน ก็คงไม่มีปัญหาเพราะจะนำไปสู่การปรับตัวขึ้นของค่าแรงในภาคธุรกิจ ซึ่งมันก็จะล้อไปกับวงจรได้ครับ แต่ ณ ปัจจุบันนี้ระบบเศรษฐกิจก็กำลังหดตัว บริษัทเองก็ต้องเอาตัวรอด ค่าแรงก็ปรับขึ้นไม่ได้ แล้วแบบนี้เราจะเอาอะไรไปสู้กับเงินเฟ้อ ?
.
โดย ณ ตอนนี้จากรูปที่ผมนำมาให้ดูกันครับ เงินเฟ้อในสหรัฐฯพุ่งไประดับมากกว่า 8.5% ในขณะที่อัตราผลตอบแทน (ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร) อยู่ที่ 3% ซึ่งเราอาจบอกได้ว่าถ้าเราฝากพันธบัตรรัฐบาล หรือฝากเงินเรายังต้องสูญเสียมูลค่าของเงินไป 5.5% ครับซึ่งมากที่สุดเป็นประวัติการณ์กว่า 40 ปี หรือถ้าแย่ยิ่งกว่านั้นถ้าคุณถือเงินสดไว้ เงินของคุณก็จะเสียมูลค่าไป 8.5% ต่อปี โดยมูลค่าที่เสียไปก็จะสะท้อนออกมาเป็นราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ซึ่งทางออกที่ธนาคารกลางหลายๆประเทศใช้ในการสู้กับเงินเฟ้อก็คือการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยหวังว่าเมื่อขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้วจะทำให้ต้นทุนของบริษัทห้างร้านต่างๆสูงขึ้น ทำให้การใช้จ่ายสามารถใช้จ่ายได้น้อยลง สุดท้ายแล้วเงินที่อยู่ในระบบก็จะค่อยๆน้อยลงทำให้เงินเฟ้อค่อยๆลดระดับลงครับ
.
แต่สำหรับผมแล้วผมมีความกังวลว่านี่อาจเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลกอีกครั้ง เนื่องจากเมื่อไหร่ที่ตลาดหุ้นซึ่งเป็นตัวแทนของภาคธุรกิจต่างๆภายในประเทศไม่สามารถรับภาระการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยได้จนต้องลดขนาดธุรกิจหรือปิดตัวลงและนำไปสู่การปลดพนักงานครั้งใหญ่ตามมา แต่ถ้าถามว่า Fed หรือธนาคารกลางหลายประเทศจะหยุดการขึ้นดอกเบี้ยได้ไหม ก็อาจตอบว่ายากเช่นกันครับ เพราะเงินเฟ้อสูงมากขนาดนี้จะนำไปสู่ชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถเอาตัวรอดได้ และนำไปสู่การจราจลได้ในอนาคตเช่นเดียวกันครับ คำถามคือแล้วรัฐบาลต่างๆทั่วโลกจะแบกตลาดหรือแบกประชาชนดี?
.
กลับมาที่ประเทศไทยของเราครับ ผมมองว่าเรายังโชคดีกว่าหลายประเทศมาก เพราะถึงแม้ว่าราคาน้ำมันจะแพงขึ้น แต่การบริโภคภายในของเรายังถือว่าปรับตัวขึ้นในอัตราที่ไม่รวดเร็วมากจนเกินไป เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์เกินดุล หมายถึงใช้ในประเทศเหลือเพื่อไปส่งออกครับ ทำให้เราสามารถควบคุมต้นทุนบางส่วนได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็ยังโดนผลกระทบทางอ้อมอยู่ดีอย่าง อาหารสัตว์ หรือต้นทุนปุ๋ย ที่ปรับตัวสูงขึ้นของตลาดโลกครับ
คำถามคือประเทศไทยจะขึ้นดอกเบี้ยตามประเทศอื่นๆไหม ก็ต้องบอกว่ามีโอกาสครับ แต่อาจจะช้ากว่าชาวโลกทุกท่านแน่ๆครับ เพราะปัญหาภายในของเรายังคงมีอยู่โดยเฉพาะปัญหาเรื่องสภาพหนี้เสียในระบบการเงินที่มหาศาลเลยครับ ทำให้แบงค์ชาติไทยยากที่จะเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ผลิต และผู้ประกอบการครับ
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า เงินเฟ้อของประเทศไทยเราอาจไม่ขึ้นแรงเหมือนประเทศอื่น และต้นทุนการกู้ยืมในประเทศจะไม่สูงจนทำให้เกิดวิกฤติทางการเงินครับ
.
ทั้งนี้ทั้งนั้น “ วิกฤติก็คือโอกาส “ ใช่ไหมครับ ผมคิดว่าถ้าช่วงนี้เราเก็บหอมรอมริบ และอดทนผ่าน 2 ปีนี้ไปได้ เราอาจจะได้เป็นเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ หรืออาจจะได้ต้นทุนหุ้นที่ถูกมากครับ และถ้าเรามอง 5 ปีจากนี้ วิกฤติครั้งนี้ของคุณอาจจะทำให้คุณประสบความสำเร็จได้ครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอยากให้นักลงทุน หรือ ทุกท่านศึกษาหาความรู้ให้ดีก่อนการลงทุนนะครับ
จะออมเป็นเงินสด ก็ต้องถือสกุลเงินที่แข็งที่สุดในตอนนี้ก็คือ ดอลลาร์ครับ แต่ถ้าอยากปลอดภัยจริงๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงเอาไว้ก็ต้องเป็นสินทรัพย์ที่แข็งที่สุดซึ่งได้รับการพิสูจน์มาแล้วกว่าพันปี ที่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ยังคงมีมูลค่าก็คือ ทองคำ ซึ่งเป็นตัวช่วยรักษามูลค่าและป้องกันเงินเฟ้อได้นะครับ
.
ทุกคนมีความคิดยังไงมาแชร์กันได้นะครับ อันนี้เป็นหนึ่งในลางบอกเหตุเท่านั้นครับ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลกับตลาด ณ ปัจจุบันอย่างใหญ่หลวงเช่นกันครับ ไว้มีโอกาสจะกลับมาแชร์ใน ประเด็นอื่นๆเพิ่มเติมครับ

**การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน พร้อมทั้งทำความเข้าใจถึงโอกาสที่ผู้ลงทุนจะสามารถทำกำไรหรือขาดทุนจากการลงทุนทองคำได้
เปิดพอร์ตออนไลน์ : https://bit.ly/3hPrVQi
? สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
? Line : @intergold https://lin.ee/jw9R4jm
? Facebook : InterGOLD Gold Trade
☎️ Call : 02-222-0007

 



ราคาทอง
24 พฤศจิกายน 2567 | 17:59:00

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
23 พฤศจิกายน 2567 | 23:57:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
877.97

0.00

238.60

-0.43