หลังจากเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศปิดทำการลงเป็นชั่วคราว หรือ ที่เราเรียกกันว่า Government Shutdown ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะมีผลกระทบกับการทำงาน หรือการบริการของภาครัฐต่างๆ ที่ต้องหยุดชะงักลงเป็นจำนวนมาก โดยวันนี้ทางอินเตอร์โกลด์ จะมานำเสนอเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยให้เพื่อนๆได้ลองอ่านกันนะครับ
รู้หรือไม่ ว่ารัฐบาลกลางสหรัฐเคยมีการประกาศปิดทำการลงชั่วคราวมาแล้วทั้งหมด 17 ครั้ง ไม่รวมครั้งล่าสุด ซึ่งแต่ละครั้งที่มีการ Shutdown นั้น ก็ส่งผลให้มีประชาชนชาวอเมริกันจำนวนมากต้องถูกบังคับให้หยุดทำงานโดยไม่มีกำหนด ซึ่งแน่นอนก็ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของอเมริกาแน่นอน เราจะยกตัวอย่างการ Shutdown ใน 5 ครั้งหลังสุดมาเป็นตัวอย่างให้เพื่อนๆได้ลองเปรียบเทียบกันนะครับว่า เมื่อมีการ shutdown แล้วผลมันออกมาเป็นยังไง
ปี 1990 ในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประกาศว่าจะไม่ลงนามในกฎหมายงบประมาณหรือกฎหมายผ่อนปรนใดๆ
ทำให้หน่วยงานรัฐหยุดงานนาน 3 วันเต็ม ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 6 ถึงวันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม 1990 ส่งผลให้เกิดการจลาจลขึ้น แต่โชคดีที่เป็นช่วงสุดสัปดาห์ (คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสเดย์) พอดี ซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่หยุดงานอยู่แล้ว หลังจากนั้นบุชจึงยอมลงนามกฎหมายงบประมาณฉุกเฉิน และเจ้าหน้าที่ทั้งหมดสามารถกลับเข้ามาทำงานได้ในวันอังคารที่ 9 ตามปกติ โดย 3 วันนี้ รัฐขาดทุนไปถึง 2.57 ล้านดอลลาร์ เลยทีเดียวครับ
การหยุดงานของหน่วยงานรัฐที่ยาวนานที่สุด (21 วัน)
เกิดขึ้นในวันที่ 13 พ.ย.-19 พ.ย. ปี 1995 และ วันที่ 16 ธ.ค. 1995 -6 ม.ค. 1996
ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องจนถึงเดือนเม.ย. 1996 และเป็นครั้งเดียวที่ส่งผลกระทบทั่วทั้งอเมริกา
เหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นผลมาจากทางตันด้านงบประมาณระหว่างประธานาธิบดีบิล คลินตัน (เดโมแครต) และสภาคองเกรส ที่รีพับลิกันครองเสียงข้างส่วนใหญ่ทั้งสองสภาในเรื่องการจัดสรรงบฯ ให้งบหน่วยงานประกันสุขภาพ, การศึกษา, สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข โดยวิกฤตินี้คลี่คลายลงได้เมื่อสภายอมผ่านกฎหมายเพื่อให้รัฐบาลเปิดอีกครั้ง ส่วนคลินตันยอมรับแผนสำนักงบประมาณรัฐสภา เห็นว่าจะช่วยงบฯ กลับมาสมดุลอีกครั้งภายใน 7 ปี การชัตดาวน์ครั้งนี้ ส่งผลให้สหรัฐฯเสียรายได้จากภาษีอย่างน้อย 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคหยุดการเฝ้าระวังเชื้อโรค งานกำจัดขยะพิษใน 609 จุดหยุดชะงัก อุทยานแห่งชาติ 368 แห่งถูกปิด ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 700,000 คนในเวลาต่อมา การดำเนินการตามคำร้องขอทำหนังสือเดินทาง 200,000 คำร้อง และคำร้องขอทำวีซ่า 2-3 หมื่นคำร้องล่าช้า อุตสาหกรรมการบินและท่องเที่ยวสูญเสียรายได้หลายล้านดอลลาร์ และผลกระทบอื่นๆ อีกมาก ที่นับว่าเป็นการชัตดาวน์ครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
ปี 2013 กินเวลาตั้งแต่วันที่ 1 – 17 ตุลาคม หลังจากรัฐสภาไม่ผ่านแผนงบประมานประจำปี การปิดบริการครั้งนี้กินเวลา 16 วัน นับเป็นการปิดบริการของรัฐบาลกลางที่นานที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากเมื่อปี 2521 (18 วัน) และปี 2536-37 (21 วัน) ซึ่งมีผลทำให้ลูกจ้างของรัฐบาลถูกพักงาน กว่า 80000 คน อย่างไม่มีกำหนด และอีก 1.3 ล้านคนถูกให้เข้ารายงานตัวทำงานโดยไม่ทราบกำหนดวันกำหนดชำระเงิน
และก็มาถึงครั้งล่าสุด ซี่งสาเหตุมาจากการที่วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงคะแนนให้ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวที่ 50 ต่อ 49 เสียง ซึ่งไม่เพียงพอต่อเกณฑ์ขั้นต่ำที่จะต้องได้เสียงสนับสนุนอย่างน้อย 60 เสียง ทำให้หมดเวลาพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวไป ทำให้ไม่สามารถผ่านงบประมาณออกมาทันตามกำหนดได้ เหตุที่วุฒิสภาสหรัฐฯ ไม่สามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณดังกล่าวได้ เนื่องมาจากความขัดแย้งและการเจรจาต่อรองที่ไม่ประสบความสำเร็จระหว่างสมาชิกสภาคองเกรสพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน
โดยสมาชิกพรรคเดโมแครตต้องการให้รัฐบาลให้ความคุ้มครองผู้อพยพที่ถูกพาเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมายตั้งแต่ในวัยเด็ก 700,000 คน ไม่ให้ถูกเนรเทศ หลังประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศยุติโครงการ DACA ซึ่งรับรองสถานะของคนกลุ่มดังกล่าว
พรรคเดโมแครตใช้เรื่องนี้เป็นเครื่องมือต่อรองในการผ่านร่างกฎหมายงบประมาณ ซึ่งฝ่ายประธานาธิบดีทรัมป์ปฏิเสธ ทั้งยังเรียกร้องงบประมาณเพิ่มเพื่อการตรวจคนเข้าเมืองและการสร้างกำแพงกั้นแนวพรมแดนที่ติดต่อกับเม็กซิโกอีกด้วย ทำให้การเจรจาต่อรองในนาทีสุดท้ายไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด
แล้วผลต่อค่าเงิน US Dollar เป็นยังไงบ้าง ?
ที่ผ่านมาทั้ง 3 ครั้งล่าสุดก่อนหน้านี้ ค่าเงิน USD ตอบสนองแตกต่างกัน โดย 2 รอบแรก ค่าเงิน USD วิ่งแบบ Sideway แล้วหลังจากขึ้นพุ่งขึ้นไปแข็งค่าต่อ แต่ของปี 2013 วิ่งลงเลย คือ USD อ่อนค่าลง
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ตอบสนองยังไงบ้าง ?
ทั้ง 3 รอบที่ผ่านมา S&P 500 วิ่งขึ้นต่อ แบบไม่แคร์ ไม่สนใจอะไรใด ๆ ทั้งนั้น
หน่วยงานรัฐ ฯ ของสหรัฐปิดทำการ แล้วทำไมราคาทองรอบนี้ถึงยังไม่วิ่งขึ้นไป อย่างที่นักวิเคราะห์หลายท่านคาดการณ์ไว้ ?
ประเด็น Government Shutdown ในรอบนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันไม่จบ มันจะยืดเยื้อกันไปถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 และหลายฝ่ายมองว่า สุดท้ายแล้ว ก็คงตกลงกันได้อยู่ดี ราคาทองคำก็เลย ซึม ๆ และวิ่งแถว ๆ 1,331-1,332 ดอลลาร์/ออนซ์ ไปก่อน
ส่วนการ Shutdown ครั้งนี้ผลจะออกมาเป็นอย่างไร แนวโน้มราคาทองคำจะไปทางไหน ช่วงเวลาของการเจรจาจะช่วยให้มติเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ นักลงทุนคนไหนที่มีสถานะไว้ รอติดตามผลไว้ เพราะหากไฟเขียวเมื่อไหร่ อาจส่งผลกระทบให้ราคาทองคำลงได้ มาติดตามกันอย่างใกล้ชิดได้ที่ อินเตอร์โกลด์ นะครับ
#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้
สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดต
Website : www.intergold.co.th
Line : @intergold
Facebook : https://www.facebook.com/
Call : 02 – 2233 – 234