fbpx
Card image cap

เงินบาทอ่อน ภาค 1 : ตอน เงินทุนไหลออก (Capital Outflows) และ ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)

วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 เวลา 15.21 น.

ทำไมเงินบาทถึงอ่อนค่า…

จากสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าที่สุดใน รอบ 8 เดือน โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.25 บาทต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้เต็มไปด้วยปัจจัยสร้างความผันผวนระดับมหภาคมากมาย อาทิ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและประเทศคู่ค้า รวมถึงนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และตัวเลขชี้วัดทางเศรษฐกิจที่กระหน่ำประกาศมาอย่างต่อเนื่อง แล้วสาเหตุไหนหล่ะที่ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนขนาดนี้

เงินทุนต่างชาติไหลออก (Foreign Capital Outflows)

(อ้างอิง : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย )

จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้เลยว่าตั้งแต่ช่วงต้นปี 2561 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน นักลงทุนต่างชาติแห่ขายตราสารทุนกว่า 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งยังมีแนวโน้มจะยังคงเทขายกันต่อไปเรื่อยๆอีกสักระยะ

คำถามคือทำไมการเทขายของนักลงทุนต่างชาติมาเกี่ยวข้องอะไรกับค่าเงินบาทหล่ะ ? ผมขออนุญาติยกปรัชญาพื้นฐานของศาตร์ที่ผมศรัทธามันเป็นอย่างมาก มาพูดถึงก่อนนั่นคือ “หลักเศรษฐศาสตร์”

ซึ่งหลายคนคงนึกออกกันแล้วว่าผมจะพูดถึงเรื่องอะไร ผมจะพูดถึงหลักการที่สำคัญที่สุดของเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับสูง นั่นก็คือ “กฎของอุปสงค์และอุปทาน (Law of Demand & Supply)”

ผมเชื่อว่ามูลค่าของทุกสรรพสิ่งบนโลกนี้ที่สามารถตีมูลค่าได้ล้วนถูกกำหนดจาก Demand และ Supply ทั้งนั้น ในความหมายอย่างง่ายๆ อุปสงค์ (Demand) หมายถึง ความต้องการซื้อ ส่วนอุปทาน (Supply) คือ ความต้องการในการขาย ซึ่งราคาของสินค้าจะถูกหากความต้องการซื้อน้อยกว่าความต้องการขาย เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆนะครับ เหมือนการที่มีของมาขายเต็มตลาดแต่คนอยากซื้อกลับน้อยเพราะฉะนั้นพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายจึงต้อง hard sell ลดราคากันยกใหญ่เพื่อให้ของยังขายได้ ในทางกลับกันหากมีคนอยากได้ของเยอะแต่มีของขายอยู่น้อย คนก็จะแย่งซื้อของกันถึงแม้ว่าพ่อค้าแม่ค้าจะตั้งราคาของแพงขึ้นนั่นเอง

 

กลับมาที่เรื่องค่าเงินบาท จากการที่ต่างขาติต่างเทขายหลักทรัพย์ประเทศไทยเพื่อโยกเงินกลับประเทศหรือไปลงทุนที่อื่นๆ มันก่อให้เกิด “อุปทานของเงินบาท (THB Money Supply)” ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งนั่นเป็นผลทำให้ค่าเงินบาทมีมูลค่าลดลง หรือ เงินบาทอ่อนค่าลง นั่นเอง

 

เบื่อกันหรือยังครับเพื่อนๆ ถ้ายังไม่เบื่อกันซะก่อน ผมขออนุญาติตั้งคำถามต่อนะ ทำไมต่างชาติถึงเทขายสินทรัพย์ในประเทศไทยกันหล่ะ…

การลงทุนในต่างประเทศ

ก่อนจะไปถึงเรื่องต้นเหตุการเทขายสินทรัพย์ แอดขออนุญาติกล่าวถึง ต้นเหตุหรือเหตุผลที่นักลงทุนต้องมาลงทุนในต่างประเทศซะก่อน (ในที่นี่คือการที่ต่างชาติมาลงทุนใน หุ้น หรือตราสารหนี้ในประเทศไทย)

เพื่อนๆคงเคยได้ยินกันถึงหลักของการกระจายความเสี่ยงการลงทุน (Investment Diversification) กันมาบ้าง ทุกการลงทุนมีความเสี่ยงสำหรับการลงทุนนั้นๆ วิธีการที่เราจะลดความเสี่ยงโดยรวมให้แก่พอร์ตการลงทุนของเราที่ง่ายๆแต่มีประสิทธิภาพสูง นั่นก็คือการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามนโยบายการลดความเสี่ยงเพื่อให้ยังได้ผลตอบแทนตามที่คาดหวัง อย่างเช่น นาย A ลงทุนในหุ้น 30% ทอง 30% อสังหาริมทรัพย์ 25% ตราสารหนี้ 15% อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งนี่ก็คือเหตุผลหนึ่งที่ในตลาดบ้างเราจึงมีนักลงทุนต่างชาติมาลงทุน ซึ่งจริงๆแล้วในพอร์ตการลงทุนของเขาอาจจะไม่ได้มีแค่การลงทุนในประเทศเขาและประเทศไทยแต่อาจจะยังมีการลงทุนในประเทศอื่นๆอีกด้วย เพราะนักลงทุนต่างชาติเหล่านี้ต้องการกระจายความเสี่ยงการลงทุนของเขา

จริงๆแล้วในโลกของการเงินและการลงทุน การที่นักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในประเทศเราหรือประเทศอื่นๆ อาจเกิดได้จากปัจจัยใหญ่ๆอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งจริงๆแล้วมันคือเรื่องพื้นฐานมากๆ ทางวิชาการเรียกสิ่งนี้ว่า “Seeking for HIGHER YILED” หรือแปลเป็นไทยง่ายๆก็คือ เพื่อหาผลตอบแทนที่สูงขึ้น นั่นเอง

ผมอยากลองให้ผู้อ่านทุกคนนึกภาพตามดูนะครับ ลองนึกภาพประเทศอังกฤษหรือสหรัฐจากในหนัง ที่เต็มไปด้วยตึกสูงๆ เมืองสวยๆและมีความสะดวกสบายมีรถไฟฟ้าถึงทุกย่อมหญ้า มีเทคโลยีที่ล้ำหน้ามากมายในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งทางวิชาการนิยามประเทศเหล่านี้ว่าเป็น “ประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Country)” และเรียกตลาดการลงทุนในประเทศเหล่านี้ว่าเป็น “ตลาดที่พัฒนาแล้ว (Developed Market)” โดยเพื่อนนักลงทุนทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า “High Risk, High Return หรือ “การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงย่อมมีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูง

คงจะเห็นได้ว่าประเทศเหล่านั้นมีความมั่นคงและการเติบโตในแง่ของเศรษฐกิจที่สูง ซึ่งหากมองภาพเล็กลงไปก็จะเห็นว่าบริษัทในประเทศเหล่านั้นล้วนเป็นชื่อที่เราคุ้นหู เช่น Facebook, Apple, Dell, Chevron, Intel อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งคงพูดได้อย่างเต็มปากกว่าบริษัทชั้นนำเหล่านี้ เป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จและอยู่ในประเทศที่มีเศรษฐกิจมั่นคง ซึ่งจากสองอย่างที่บอกมาจะเห็นได้เลยว่าความเสี่ยงมันต่ำมาก นำมาซึ่งผลตอบแทนที่ต่ำลงเหมือนกัน พูดง่ายๆเหมือนมันดีจนสุดแล้วด้วยแหละดีกว่านี้พัฒนากว่านี้ก็ยากแล้ว ลงทุนไปผลตอบแทนก็คงไม่ได้เพิ่มเยอะมากมายขนาดนั้น หลังจากนั้นผมอยากให้ผู้อ่านนึกภาพตามต่อถึงประเทศอย่างพวกเราที่ถูกเรียกว่า “ประเทศที่กำลังพัฒนา (Developing Country)” ไม่ว่าจะเป็น ไทย, มาเลเซีย หรือ อินโดเนเซีย ซึ่งตลาดการลงทุนในประเทศเหล่านี้ได้แก่ ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)” – ตลาดในประเทศกำลังพัฒนาที่มีลักษณะบางอย่างเทียบเท่า Developed Market แต่แข็งแรงไม่เท่า และ ตลาดชายขอบ (Frontier Market)”-ตลาดในประเทศกำลังพัฒนาที่ยังแข็งแรงไม่เท่าตลาดเกิดใหม่จากปัจจัยต่างในประเทศ โดยตลาดทุนประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในหมวดของ ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ถ้าหากผู้อ่านลองนึกภาพตามถึงบริษัทชั้นนำในไทยแล้วลองเทียบกับ บริษัทชั้นนำในตลาดที่พัฒนาแล้วที่ผมได้กล่าวไปข้างบน จะเห็นได้ว่าชื่อชั้นและสภาพเศรษฐกิจในประเทศคนละเรื่องกันเลยแหละ แต่นั่นก็นำมาซึ่ง “Upside Potential” ที่สูงกว่า กล่าวง่ายๆคือยังพัฒนาได้อีกเยอะอ่ะ อาจจะได้ผลตอบแทนเยอะเลยหากมาลงทุนในนี้แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะขาดทุนเช่นกัน

จากที่กล่าวมายาวๆทั้งหมดขอสรุปสั้นๆว่า “ต่างชาติมาลงทุนในตลาดประเทศอย่างเรา (Emerging Market)เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้น (Seeking for higher yield) แต่ความเสี่ยงมันก็เลยมากขึ้นก็เลยต้องแบ่งการลงทุนในหลายๆประเทศเพื่อกระจายความเสี่ยง (Diversification หรือเรียกง่ายๆว่า Diversify) นำมาซึ่งความเสี่ยงที่ลดลงและยังรับได้ตามนโยบายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนตามที่ต้องการซึ่งพูดมาทั้งหมด ผมก็ยังไม่ได้ตอบเลยว่า “แล้วทำไมอยู่ๆเขาก็เทขายเรา อยู่ๆก็ถอนเงินออกจากประเทศเราจนค่าเงินบาทแม่มอ่อนแล้วอ่อนอีก” ผมขออนุญาติตอบสั้นๆแบบกำปั้นทุบดินเลยครับ “ก็เพราะเขาเข้าไปหาผลตอบแทนที่สูงกว่าแล้วก็ยังคงทำการลดความเสี่ยงอยู่ยังไงหล่ะ”  สงสัยกันใช่ไหมแล้วผลตอบแทนกับการลดความเสี่ยงที่ว่านั่น มันอะไรยังไง ถ้าสงสัยก็ไปรอติดตามกันได้กับเรื่องต่อไป เงินบาทอ่อน?? ภาค 2 ที่นี่เร็วนี้ๆที่เดียว InterGold เท่านั้น สำหรับวันนี้สวัสดีครับ

 

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
 Website : www.intergold.co.th
 Line : @intergold
 Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
Call : 02 – 2233 – 234

 



ราคาทอง
25 พฤศจิกายน 2567 | 09:35:53

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
25 พฤศจิกายน 2567 | 09:33:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
877.97

0.00

238.60

-0.43