รู้จักความเสี่ยงที่คุณต้องเจอในการลงทุน
วันนี้จะขอยกบทความจากหนังสือ ” ลงทุนทองให้เป็น เล่นให้รวย ” โดยทีมงานนักวิเคราะห์ Intergold กันนะครับ
แม้ว่าการลงทุนจะให้ผลตอบแทนที่ดี แต่ก็ไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าผลตอบแทนที่คาดหวังนั้นจะได้อย่างแน่นอน ดังนั้นสิ่งสําคัญที่ผู้ลงทุนทุกคนควรระลึกไว้เสมอ คือ… “ ไม่มีการลงทุนใดๆ ในโลกที่ไม่มีความเสี่ยงเลย ”
แต่เมื่อคุณต้องเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ก็ย่อมต้องคาดหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงนั้น ซึ่งตรงกับคํากล่าวที่ว่า High Risk… High Expected Return ในทางกลับกัน หากเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ํา ผู้ลงทุนจะคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุนที่น้อยลงเช่นกัน ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถทําให้ความเสี่ยงในการลงทุนหมดไปทั้งหมดได้ แต่ถ้าเรารู้จักศึกษาหาความรู้และข้อมูลมากพอ เราก็สามารถทําให้ความเสี่ยงประเภทต่างๆ ลดลงไปได้
ดังนั้นก่อนอื่นเราลองมาดูประเภทของความเสี่ยงหลักๆ ในโลกของการลงทุนที่ทุกคนต้องเจอและวิธีการที่จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านั้นกันครับ
ในโลกของการลงทุนเราแบ่งประเภทของความเสี่ยงเอาไว้ 2 ประเภท ได้แก่
1. ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic Risk)
2. ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystem-atic Risk)
.
ความเสี่ยงที่เป็นระบบ หรือ Systematic Risk
สําหรับความเสี่ยงชนิดนี้เป็นความเสี่ยงที่เรียกได้ว่าโดนกระทบกันหมดแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะมันเกิดจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยระดับมหภาค ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์โดยภาพรวมเราสามารถจําแนกหมวดหมู่ย่อยของความเสี่ยงกลุ่มนี้ออกมาได้อีก 4 ประเภทย่อยด้วยกัน ได้แก่
ความเสี่ยงของนโยบายการเงิน
เนื่องจากนโยบายการเงินต่างๆ เช่น การขึ้นลงของอัตราดอกเบี้ยจะถูกกําหนดจากนโยบายของธนาคารกลางแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นักลงทุนไม่สามารถกําหนดได้เอง ดังนั้นเวลาธนาคารกลางแต่ละประเทศประกาศใช้นโยบายอะไร
ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ที่เราถือครองอยู่
ความเสี่ยงจากการเมือง
อย่าคิดว่าเรื่องการเมืองไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการลงทุนจริงๆ แล้วมันเป็นอีกปัจจัยสําคัญหนึ่งซึ่งมีความเสี่ยงที่นักลงทุนไม่ควรมองข้ามเลยเพราะความเสี่ยงทางการเมืองนี้จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากนักลงทุนจะต้องพิจารณาปัจจัยหลายๆ ด้านที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ(Economic) ด้านการเมืองและกฎหมาย (Political & Legal) เพื่อประเมินโอกาสและความเสี่ยงในการเลือกที่จะตัดสินใจลงทุน
ความเสี่ยงจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด
ถ้าพูดถึงปัจจัยข้อนี้สมัยก่อนอาจจะหาตัวอย่างให้เห็นภาพค่อนข้างยาก แต่ในปัจจุบันมีตัวอย่างให้เห็นแบบชัดเจนมากเลยก็คือ COVID – 19 นั้นเอง ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ COVID – 19 ใครจะคิดกันครับว่าการท่องเที่ยวทั่วโลกจะถูก Shut Down เป็นอัมพาตแทบจะ 100 % ธุรกิจที่ผูกกับการท่องเที่ยวอย่างสายการบินหรือโรงแรมต่างโดนผลกระทบอย่างหนักชนิดที่ว่าต่อให้ธุรกิจนั้นจะบริหารงานเก่งแค่ไหนก็ยังได้รับผลกระทบอย่างหนักแน่นอน แล้วลองคิดภาพดูครับว่า สมมติเราในฐานะนักลงทุน ลงทุนอยู่ในธุรกิจประเภทนั้นละเจอเหตุการณ์แบบ COVID – 19 เข้าไป จะเกิดอะไรขึ้น…
ความเสี่ยงในอํานาจซื้อหรือภาวะเงินเฟ้อ (Purchasing powerrisk or Inflation Risk)
ความเสี่ยงที่เกิดจากราคาสินค้าสูงขึ้น ซึ่งมีผลทําให้มูลค่าของเงินลดลง จึงทําให้อํานาจการซื้อลดลงไปด้วย เพราะจํานวนเงินที่มีเท่าเดิมแต่ค่าของเงินลดลง หรือที่เรียกว่า “เงินเฟ้อ” ซึ่งความเสี่ยงประเภทนี้จะส่งผลกระทบกับหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยแบบคงที่เป็นพิเศษ สรุปก็คือความเสี่ยงประเภทนี้ไม่ได้ทําให้อัตราผลตอบแทนจาก การลงทุนเปลี่ยนแปลงแต่มีผลทําให้ผลตอบแทนที่แท้จริงลดลง
ในเชิงวิชาการนั้นว่ากันว่าความเสี่ยงที่เป็นระบบหรือ Systematic Risk นั้นเป็นความเสี่ยงที่เราไม่สามารถขจัดหรือทําให้ลดลงได้ แต่ความจริงนั้นตามจากประสบการณ์ของผมก็คิดว่าไม่จริงซะทีเดียว เนื่องจากหากเรารู้จักประเภทของหลักทรัพย์ต่างๆ มากพอการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนไปยัง หลักทรัพย์ที่ต่างประเภทกัน ก็พอจะลดหรือทุเลาความเสี่ยงประเภทนี้ลงได้บ้างเช่น การเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคําเพื่อชดเชยความเสี่ยงจากสภาวะการเมือง (Political Risk) หรือ ความเสี่ยงจาสภาวการณ์ที่ไม่คาดคิด (Event Risk) เพราะทองคําสามารถรักษามูลค่าในตัวได้ดีกว่าเงินตราสกุลหรือหลักทรัพย์อื่นๆ เช่น หุ้น โดยเฉพาะในยามที่มีสภาวะความไม่แน่นอนสูง รวมทั้งมีสภาพคล่องสูงเนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ทั่วโลกยอมรับอีกด้วย
ในบทความนี้แอดมินขอพูดถึงเฉพาะเรืองของความเสี่ยงที่เป็นระบบ หรือ (Systematic Risk) ก่อนนะครับ เราจะเห็นได้ว่าการลงทุนที่เรากำลังลงทุนอยู่ไม่ได้มีเฉพาะความเสี่ยงที่ราคาผิดทางทำให้เราขาดทุนอย่างเดียว แต่ยังมีที่ลึกไปกว่านั้นเป็นปัจจัยประกอบเข้าไป ในบทความหน้าเราจะมาพูดถึง ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystem-atic Risk) อย่าลืมติดตามกันนะครับ ^^
ที่มาบทความจากหนังสือ ” ลงทุนทองให้เป็น เล่นให้รวย ” โดยทีมงานนักวิเคราะห์ Intergold