เคยสงสัยไหมว่า ทำไมแต่ละประเทศถึงใช้หน่วยวัดน้ำหนักทองที่แตกต่างกัน? ในขณะทีประเทศไทยใช้หน่วย “บาท” แต่ในตลาดโลกกลับนิยมใช้ “ออนซ์” หรือ “กรัม” มากกว่าแม้แต่ “ตำลึง”ก็ยังมีมาให้เห็น แล้วอะไรคือเหตุผลเบื้องหลังความแตกต่างนี้?
หน่วยวัดทองมักถูกกำหนดขึ้นตามบริบท ทางวัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ รวมประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ ทำให้เกิดมาตรฐานที่หลากหลาย
การเข้าใจหน่วยวัดนั้น ยังช่วยให้เราเข้าใจถึงรากฐานของระบบการซื้อขายทองคำในแต่ละภูมิภาคได้อีกด้วย วันนี้เราจะพามาหาคำตอบกันว่ามีหน่วยวัดทองประเภทอะไรบ้าง
1.บาท (Baht)
หน่วย “บาท” เป็นหน่วยวัดน้ำหนักทองที่เราคุ้นเคยกัน มีรากฐานมาจากระบบเงินตราไทยโบราณซึ่งใช้ “บาท” เป็นหน่วยหลักของทองและเงินในการค้าขายมาแต่เดิม
โดยทองคำ 1 บาท มีน้ำหนักประมาณ 15.244 กรัม โดยแบ่งออกได้เป็นหน่วยย่อย เช่น
1 สลึง = 3.81 กรัม (1 บาท = 4 สลึง)
50 สตางค์ = 7.62 กรัม (เท่ากับ 2 สลึง)
25 สตางค์ = 3.81 กรัม (เท่ากับ 1 สลึง)
ประเทศไทยยังคงใช้หน่วย “บาท” ในการซื้อขายทอง เพราะเป็นหน่วยที่คุ้นเคยกับคนไทยและถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานโดยสมาคมค้าทองคำไทย และนิยมใช้ทองคำที่มีความบริสุทธิ์ 96.5% ที่มีการซื้อ-ขายกันภายในประเทศนั่นเอง
- ออนซ์ (Ounce : oz)
หน่วย “ออนซ์” หรือ “Troy Ounce” เป็นหน่วยมาตรฐานสากลที่ใช้ในตลาดทองคำทั่วโลก ทองคำ 1 ออนซ์ มีน้ำหนักประมาณ 31.1035 กรัม ซึ่งต่างจากออนซ์ทั่วไปที่ใช้ในระบบเมตริก (1 ออนซ์ปกติ = 28.35 กรัม)
สาเหตุที่ตลาดโลกเลือกใช้ “Troy Ounce” เนื่องจากเป็นหน่วยที่ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยยุคกลางของยุโรป โดยมีรากฐาน มาจากระบบการค้าของฝรั่งเศสและอังกฤษ ทำให้กลายเป็นมาตรฐานในตลาดทองคำสากลจนปัจจุบัน โดยนิยมใช้กับทองคำความบริสุทธิ์ 99.9%
- กรัม (Gram : g)
หน่วย “กรัม” เป็นหน่วยวัดที่ใช้ในระบบเมตริก ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นิยมในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ใช้ระบบเมตริกเป็นหลัก เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และประเทศในแถบยุโรป รวมถึงจีนและญี่ปุ่น ทองคำสามารถชั่งเป็นหน่วยกรัมได้โดยตรง เช่น
1 กิโลกรัม (kg) = 1,000 กรัม
1 บาทไทย = 15.244 กรัม
1 ออนซ์สากล = 31.1035 กรัม
การใช้ “กรัม” เป็นหน่วยวัดทองช่วยให้สะดวกต่อการคำนวณและแปลงหน่วยในตลาดที่ใช้ระบบเมตริก เช่น ตลาดเอเชียและยุโรปโดยใช้กับทองคำทั้ง 96.5% และ 99.9%
- กิโลกรัม (Kilogram : kg)
หน่วย “กิโลกรัม” ใช้ในการซื้อขายทองคำแท่งขนาดใหญ่ โดยทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1,000 กรัม หรือประมาณ 32.148 ออนซ์ ซึ่งนิยมใช้ในกลุ่มนักลงทุนและตลาดซื้อขายทองคำขนาดใหญ่
โดยมักจะใช้ กิโลกรัม เป็นหน่วยวัดทองคำแท่งความบริสุทธิ์ 99.9% เพื่อความสะดวกในการคำนวณมูลค่าในปริมาณมาก
- ตำลึง (Tael)
หน่วย “ตำลึง” เป็นหน่วยที่ใช้ในตลาดทองคำของจีนและฮ่องกง โดยทั่วไป 1 ตำลึงมีน้ำหนัก 37.5 กรัม หรือประมาณ 1.2 ออนซ์ ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานในการค้าขายทองคำในบางประเทศแถบเอเชีย
ตำลึง มีรากฐานมาจากหน่วยชั่งตวงจีนโบราณ ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบการค้าของจีนมานานหลายศตวรรษ
แม้ว่าปัจจุบันจะมีการใช้หน่วยกรัมเพิ่มขึ้นในจีน แต่หน่วย “ตำลึง” ยังคงเป็นที่นิยมในตลาดทองคำของฮ่องกงและไต้หวัน ทองคำที่ซื้อขายใช้หน่วย ตำลึง มักมีความบริสุทธิ์ 99.9%
นอกจากนี้ ยังมีหน่วยวัดชั่งน้ำหนักทองอื่นๆที่เราอาจจะยังไม่เคยได้ยินอีก เช่น “โทลา” (Tola) ที่ใช้ในประเทศอินเดีย ปากีสถาน สิงคโปร์ และประเทศแถบตะวันออกกลาง หรือ “ชิ” (Chi) หน่วยทองคำในประเทศเวียดนาม และ “ดอน” (Don) หน่วยทองคำในประเทศเกาหลี
หน่วยวัดทองที่แตกต่างกันนั้น เนื่องจากปัจจัยทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และระบบเศรษฐกิจเป็นระบบที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณและยังคงเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันในประเทศนั้นๆ ขณะที่ตลาดสากลใช้ “Troy Ounce” เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่มีมาแต่ยุคกลางของยุโรป ในขณะที่ระบบเมตริกได้รับความนิยมในประเทศที่ใช้มาตรฐานเมตริก เช่น จีนและยุโรป
ติดตามความรู้เรื่องทองคำแบบเข้าใจง่าย ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้ กดติดตามเพจ Gold2GO เพื่อไม่พลาดทุกเทรนด์ ข่าวสาร และกลยุทธ์การลงทุนทองคำที่อัปเดตตลอดเวลา!
ซื้อขาย-ออมทอง เริ่มต้นเพียง 100 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE : @Gold2go คลิกที่ลิงค์ : https://lin.ee/lj9fSah
#ซื้อทองขั้นต่ำใช้แค่100บาท #gold2go #ใครๆก็ซื้อทองได้ #intergold #Gold2Go