วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์กับความเฟื่องฟูของตลาดทองคำ
เวลาเราต้องการจะซื้อบ้านสักหลัง เราอาจไม่ต้องการสูญเสียเงินสดจำนวนมากเพราะอาจทำให้เสียสภาพคล่องได้ ทางออกที่ดีคือการกู้เงินมาซื้อบ้าน ซึ่งเราสามารถกู้ได้เยอะกว่าการกู้ไปซื้ออย่างอื่นและสามารถผ่อนได้เป็นเวลานาน ดังนั้นการปล่อยกู้แบบนี้จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ปล่อยกู้ต้องพิจารณาอย่างมาก ประเด็นคือที่อเมริกา เราจะไม่ได้ไปกู้กับธนาคารโดยตรงเหมือนประเทศไทยที่มีอยู่ไม่กี่ธนาคาร ส่วนใหญ่จะกู้จากบริษัทปล่อยกู้ในท้องถิ่นเล็กๆ ห่วงโซ่จึงเริ่มต้นตรงนี้
ผู้ซื้อบ้าน —–> บริษัทปล่อยกู้ —–> วานิชธนกิจ —–> นักลงทุน
จากแผนภาพข้างบน เมื่อผู้ซื้อบ้านไปทำสัญญากู้กับบริษัทสินเชื่อต่างๆ บริษัทเหล่านี้ก็จะนำสัญญานั้นไปขายให้บริษัทวานิชธนกิจ วานิชธนกิจก็จะรวบรวมสัญญาต่างๆ ไม่ใช่แค่การกู้บ้านแต่การกู้ซื้อรถ, กู้ยืมเพื่อการศึกษา, การกู้ยืมเพื่อธุรกิจ ฯลฯ โดยจะนำมาจัดเป็นชุดต่างๆ แล้วนำไปขายให้กับนักลงทุนต่างๆ ที่ต้องการซื้อ เรียกว่า ” CDO ” โดยครั้งนี้เมื่อคุณกู้ซื้อบ้าน เงินดอกเบี้ยที่คุณส่งจะไม่ได้ถูกส่งไปที่บริษัทปล่อยกู้หรือวานิชธนกิจ แต่มันจะส่งไปที่ผู้ซื้อ CDO ทันทีรวมทั้งถ้าคุณเบี้ยวหนี้ โดยจะมีบริษัทเข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นอีกคือ
CDO —–> AIG —–> ตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง —–> นักลงทุน
บริษัท AIG ซึ่งเป็นบริษัทประกัน โดยบริษัทจะทำการรับประกันให้แก่ CDO แต่ละชนิด โดยคุณต้องจ่ายค่าประกัน เป็นรายเดือนหรือรายปี เหมือนกับคุณซื้อประกันชีวิตให้ตัวเองแต่นี้คือคุณซื้อประกันให้ CDO ถ้าเกิดมันมีปัญหา แค่นั้นคงยังกำไรไม่พอ บริษัทจึงได้นำการประกันไปทำเป็นอนุพันธ์ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง” เพื่อไปขายให้กับนักลงทุนอีกต่อ โดยถ้า CDO นั้นไม่มีปัญหา คนซื้อตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงก็ต้องจ่ายค่าประกันปกติ แต่ถ้า CDO มีปัญหาคุณก็จะได้กำไรจากค่าชดเชยที่คุณลงทุนในตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง บริษัทต่อมาคือ
AIG —–> ตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง, CDO —–> บริษัทจัดความเสี่ยง —–> วานิชธนกิจ —–> นักลงทุน
บริษัทจัดเรตติ่งต่างๆ โดยบริษัทจะออกมาจัดเรตติ้งให้กับ CDO ที่ออกมา ซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในระดับ AAA คือดีมากๆ ไม่เสี่ยงเลย ด้วยเรทติ้งขนาดนี้จึงทำให้กองทุนต่างๆ สนใจอย่างมาก รวมทั้งกองทุนเกษียรอายุต่างๆ ที่มีกฎต้องลงทุนในหลักทรัพย์ที่ถูกจัดอยู่ในระดับที่ดีมากๆ อย่าง AAA
ผู้ซื้อบ้าน —–> บริษัทปล่อยกู้ —–> วานิชธนกิจ (CDO) —–> AIG (ตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง) —–> ตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง, CDS -> บริษัทจัดเรตติ่ง -> นักลงทุน
เมื่อคุณสามารถกู้เงินได้ถึง 99% เพื่อมาซื้อบ้านสักหลัง กลไกของ CDO ก็เริ่มทำงาน หลังจากได้สัญญา บริษัทปล่อยกู้ ธนาคารท้องถิ่นต่างๆ ก็จะนำมันไปขายต่อให้กับวานิณธนกิจ โดยไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงและได้ค่าธรรมเนียมต่างๆ ต่อจากนั้นวานิณธนกิจก็นำมันไปแปลงเป็น CDO เพื่อไปขายให้นักลงทุน โดยจ่ายเงินให้บริษัทจัดเรทติ่งเพื่อช่วยให้จัดเรทติ่งให้ได้เกรดสูงๆ บริษัทประกันก็เข้ามารับประกัน CDO ที่ปล่อยออกมา และแปลงสัญญาประกันเป็นตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง(CDS) เพื่อขายให้กับนักลงทุนอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นเมื่อผู้ปล่อยกู้ไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการปล่อยกู้และบริษัทวานิชธนิจก็ได้รับค่านายหน้ากับค่าธรรมเนียมมหาศาลจากการขาย CDO ก็ทำให้การเร่งการปล่อยกู้มีมากขึ้น บ้านหลังเดียวไม่เคยพอสำหรับระบบทุนนิยม คนกู้เงินมาซื้อบ้านเรื่อยๆ บริษัทปล่อยกู้ให้เป็นจำนวนมากแม้กระทั้งกับคนที่ไม่น่าเชื่อถือเพื่อนำสัญญาไปขายให้บริษัทวานิชธนกิจ วานิชธนกิจก็นำมันไปขายให้กับนักลงทุนและจ่ายให้บริษัทจัดเรทเพื่อทำให้หลักทรัพย์น่าเชื่อถือ นักลงทุนก็เข้ามาอย่างมืดฟ้ามัวดินในทรัพย์สินชนิดใหม่ที่ราคาพุ่งแบบไร้ขีดจำกัด บริษัทประกันก็เข้ามารับประกัน CDO และนำมันไปขายเป็นตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง CDS ให้กับนักลงทุน
จากทั้งหมดนี้ทำให้ราคาบ้านพุ่งขึ้นเกือบ 4 เท่าจากปี 2001 และมูลค่าวานิชธนกิจเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า บริษัทเรทติ่งมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นทุกปี บริษัทประกันมีรายได้เข้ามาอย่างไม่หยุด เจ้าหน้าที่ระดับสูงของแต่ละบริษัทมีรายได้หลายล้านดอลล่าในแต่ละปี พวกมาร์ได้เงินค่าธรรมเนียมมหาศาลจากการขาย CDO ทุกคนดูเหมือนจะมีความสุข สิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีคลินตัน คลินตันผ่อนปรนกฎด้านการเงินโดยมีการออกกฎที่อนุญาตให้ควบรวมธนาคารกับบริษัทวานิชธนกิจที่ทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถนำเงินฝากของคุณไปลงทุนเสี่ยงๆได้ ต่อมาคือบุชที่อนุญาตให้มีการขยายวงเงินกู้ยืมกับวานิชธนกิจ ในตอนนี้มูลค่าของบริษัทจาก 3 ใน 4 ส่วนมาจากเงินกู้ การเมือง กลต ธนาคารกลาง ทุกอย่างถูกนำมารวมกันโดยมีตัวเชื่อมคือ Wall street
การเพิ่มกำไรของวานิชธนกิจคงยังไม่พอ จึงได้เริ่มซื้อตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง โดยวานิชธนกิจขาย CDO ตัวหนึ่งให้คุณแล้วบอกว่ารคามันจะขึ้นอย่างแน่นอน แต่หลังจากนั้นก็ไปซื้อตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยงจากบริษัทประกันความเสี่ยง CDS เพราะคิดว่า CDO ที่พึ่งขายไปมันแย่ราคาต้องลงแล้ววานิชธนกิจจะได้กำไรจากค่าประกันถ้า CDO แย่ และ AIG ไม่ต้องมีเงินสำรองสำหรับ ตราสารอนุพันธ์ประกันความเสี่ยง
สิ่งที่ตามมาคือฟองสบู่แตก AIG ล้มละลาย เลแมนและเมอริลล้มเช่นกัน บริษัทสาขาต่างๆที่อยู่ในยุโรปต้องปิดตัวทันที กิจการต่างๆหยุดชะงัก บริษัทถูกควบรวมกัน รัฐบาลต้องใช้เงินอุ้ม AIG และบริษัทใหญ่ๆไว้ มีการควบรวมเกิดขึ้น แต่บริษัทพวกนี้ก็อยู่รอดได้ด้วยเงินภาษีจากประชาชนที่จ่ายไปโดยทำให้ประเทศมีหนี้เพิ่มขึ้น 2 เท่า การยึดบ้านระบาดไปทั่ว นักลงทุนหลายคนหมดตัว กองทุนหลายที่สูญเสียเงินลงทุน การจ้างงานหยุดชะงัก สินค้าแพงขึ้น ลามไปยังยุโรป สิงค์โปร์และจีนที่เป็นฐานการผลิต
วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ทา ให้ราคาทองคา ปรับตวัข้ึนกว่า 100% ในช่วงปี 2004-2006 เนื่องจาก COD และ CDS ทา ให้เกิดการเกร็งกา ไรมหาสาร นา มาสู่ภาวะเงินเฟ้ออยา่ งมาก น้นั หมายความว่าดอลล่า
อ่อนมาก ทา ให้ราคาทองคา ปรับตวัสูงข้ึนอย่างรวดเร็ว นับเป็น 2 ปี ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงมากนั่นเองครับ
#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้
สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดต
Website : www.intergold.co.th
Line : @intergold
Facebook : https://www.facebook.com/
Call : 02 – 2233 – 234