fbpx

ขึ้นดอกเบี้ย กดเงินเฟ้อได้จริงหรือ?

วันที่ 19 ตุลาคม 2565 เวลา 09.37 น.

ขึ้นดอกเบี้ยกดเงินเฟ้อได้จริงหรือ?

======================================
.
ปัจจุบันเราเห็นธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องมาตลอดทั้งปี จนถึงตอนนี้เงินเฟ้อก็ยังไม่ร่วงลงเท่าไหร่เลย เกิดคำถามกันว่า การขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง สามารถแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้จริงหรือไม่
.
ในทางทฤษฎีการขึ้นดอกเบี้ยคือการดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ทำให้คนไม่อยากใช้จ่าย เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะขึ้นทั้งดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้ เมื่อดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้นก็จะมีแนวโน้มให้คนไม่อยากใช้เงิน อยากจะฝากเงินมากขึ้น ในขณะเดียวกันที่ดอกเบี้ยเงินกู้สูงขึ้นก็ทำให้คนไม่อยากลงทุน หรือใช้จ่าย
.
ในทางปฏิบัติจริงการขึ้นดอกเบี้ยที่รุนแรงอาจส่งผลให้บริษัทบางที่ถึงกับขาดทุนจนถึงขั้นปิดกิจการไปเลยก็มี เพราะจ่ายดอกเบี้ยไม่ไหว นำมาสู่การตกงาน และเมื่อคนเริ่มตกงานการเยอะขึ้น ก็ส่งผลให้คนไม่อยากใช้จ่าย การที่คนไม่อยากใช้จ่ายมันก็ทำให้ราคาสินค้าต้องปรับตัวลดลงเอง เพราะขายแพงมันขายไม่ออก นำมาสู่เงินเฟ้อลดลงในที่สุด
.
มาส่องประวัติศาสตร์สหรัฐกันว่ามันเป็นไปตามทฤษฎีหรือไม่
.


.
จากรูป เส้นสีแดง คือ PCE Index ซึ่งเราจะใช้เป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อ
———เส้นสีเขียว คือ อัตราดอกเบี้ย
———แถบสีเทา คือ ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอย เกิดการตกงาน
.
เราจะเห็นช่วงปี 1980 อัตราเงินเฟ้อเป็นขาขึ้น และขึ้นไปสูงสุดที่ 10% ในช่วงเวลานั้นเราจะเห็นว่าเฟดได้พยายามขึ้นดอกเบี้ยเรื่อยๆ และดอกเบี้ยขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 18% หลังจากนั้นไม่นาน เราจะเห็นแถบสีเทาแสดงถึงคนตกงานกันละ แล้วในขณะเดียวกันตัวเลขเงินเฟ้อก็ร่วงลงเรื่อย ๆ ด้วย เป็นไปตามทฤษฎีข้างบนเป๊ะ ๆ เลย
.
สิ่งที่ปัจจุบันแตกต่างจากช่วงปี 1980 คือดอกเบี้ยเรายังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ บางสำนักก็บอกว่าต้องขึ้นดอกเบี้ยอีกเยอะ ถึงจะหยุดเงินเฟ้อได้ ดูอย่างในอดีตสิ ดอกเบี้ยต้องสูงกว่าเงินเฟ้อ มันถึงจะหยุดเงินเฟ้อได้ (เส้นสีเขียวต้องอยู่เหนือเส้นสีแดง)
.
แต่ในความคิดของผมคิดมันไม่จำเป็นว่าดอกเบี้ยต้องสู้กว่าเงินเฟ้อ แต่มันต้องดูว่าเศรษฐกิจสหรัฐช่วงนั้นรับดอกเบี้ยได้สูงแค่ไหน เมื่อไหร่เศรษฐกิจรับไม่ไหว เกิดการตกงาน เงินเฟ้อก็ร่วงได้อยู่ดี โดยที่ดอกเบี้ยไม่จำเป็นต้องขึ้นไปสูงกว่าเงินเฟ้อเลย  ซึ่งปัจจุบันปริมาณหนี้ในระบบเศรษฐกิจมันใหญ่กว่าสมัย 1980 มาก การขึ้นดอกเบี้ยแค่ระดับ 5% อาจส่งผลกระทบหนักกว่า การขึ้นดอกเบี้ยในปี 1980 ที่ระดับ 18% ก็เป็นได้
.
และถึงแม้เราจะยังไม่รู้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะทนรับดอกเบี้ยได้ถึงระดับไหน แต่ที่เรารู้ก็คือเงินเฟ้อระดับสูงแบบนี้ จะร่วงลงได้ มักเกิดจากเศรษฐกิจถดถอย เกิดการตกงาน ดังนั้นหากเป้าหมายเฟดคือการลดเงินเฟ้อ แสดงว่ามีโอกาสสูงมากที่อนาคตอันใกล้นี้จะได้เห็นคนตกงานในสหรัฐพุ่งสูงขึ้น แล้วตอนนั้นทองคำจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในพอร์ตการลงทุนครับอ่าน Content อื่นๆเพิ่มเติม : https://www.intergold.co.th/
เปิดพอร์ตออนไลน์ : https://bit.ly/3hPrVQi
#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน InterGOLD :
IOS http://ow.ly/C6yo50Dlwgt
Android http://ow.ly/cgyk50Dlwga
👉 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
☁️ SoundCould : https://soundcloud.com/intergold-podcast
🟢 Spotify : https://spoti.fi/2SDlww7
📱 Line : @intergold https://lin.ee/jw9R4jm
💻 Facebook : InterGOLD Gold Trade
☎️ Call : 02 – 2233 – 234


ราคาทอง
24 พฤศจิกายน 2567 | 16:15:45

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
23 พฤศจิกายน 2567 | 23:57:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
877.97

0.00

238.60

-0.43