fbpx
Card image cap

InterGOLD Series : ทองคำตัวเอกในโลกการเงินโลก EP 2 ทำไมระบบการเงินถึงต้องมีทองคำ

วันที่ 2 ธันวาคม 2563 เวลา 16.37 น.

EP 2 : ทำไมระบบการเงินถึงต้องมีทองคำ

อย่างที่เกริ่นไปในบทที่เเล้วครับใครอยากทำความเข้าใจย้อนไปอ่านที่บทที่เเล้วกันก่อนได้เลยครับ EP 1 : จุดเริ่มต้นของระบบการเงินโลก

ระบบการเงินที่มีทองคำเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเราเรียกมันว่า Gold Standard นะครับ

ก่อนอื่นเรามาทำเข้าใจหลักการของระบบ Gold Standard กันก่อน

โดยหลักการของมาตรฐานทองคำที่สำคัญจะมีด้วยกัน 3 ข้อหลักๆได้เเก่ 

  1. ทุกประเทศต้องผูกค่าเงินของตัวเองกับทองคำจำนวนหนึ่ง ส่วนจะผูกไว้เท่าไหร่ นั่นก็สุดแล้วแต่ประเทศนั้นๆกำหนด
  2. ประเทศจะต้องรักษาสัดส่วนระหว่างเงินสกุลของประเทศตัวเองกับปริมาณทองคำให้คงที่ อธิบายให้เห็นภาพก็คือ เงินที่ทุกๆประเทศที่พิมพ์ได้จะขึ้นอยู่ปริมาณทองคำในประเทศที่ ธนาคารกลางแต่ละประเทศมี  แปลได้ว่าเงินกระดาษมีค่าก็เพราะมีทองคำหนุนหลังอยู่นั่นเอง
  3. ต้องให้การนำเข้าส่งออกทองเป็นไปอย่างเสรี

เดี๋ยวเรามาลองดูตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นกันนะครับ

สมมติให้โลกนี้มี 2 ประเทศได้เเก่

  1. ประเทศไทยที่มีบาทเป็นสกุลเงินประจำชาติ
  2. สหรัฐฯที่มีดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินประจำชาติ

โดยไทยบอกว่าเงิน 25 บาทจะแลกทองคำได้ 1 ออนซ์หรือ 1 บาทแลกได้ 0.04 ออนซ์ ส่วนสหรัฐฯบอกว่าเงิน 40 ดอลลาร์แลกทองคำได้ 1 ออนซ์ หรือ 1 ดอลลาร์แลกได้ 0.02 ออนซ์ เมื่อเทียบเป็นอัตราแลกเปลี่ยนกัน 1 บาทจะแลกได้ 2 ดอลลาร์สหรัฐฯนั่นเอง

ดังนั้นหากสหรัฐฯมีทองคำอยู่ทั้งหมด 100 ล้านออนซ์ จะสามารถผลิตเงินได้สูงสุดที่ 2.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เเละถ้าต้องการผลิตเงินเพิ่มก็ต้องหาทองคำมาเพิ่ม

เเละเมื่อมีการค้าขายกัน หากสหรัฐฯนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ผลที่ตามมาก็คือจะต้องการเงินบาทมากขึ้น ( ซื้อของจากไทยก็ต้องใช้สกุลเงินบาทไง ) และต้องการเงินดอลลาร์สหรัฐฯน้อยลง หากความต้องการมีมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราแลกเปลี่ยนมีโอกาสเปลี่ยนแปลงครับ จากเดิมที่ต้องเอา 2 ดอลลาร์สหรัฐฯแลก 1 บาท อาจต้องใช้ถึง 4 ดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อแลก 1 บาท ตามกฎอุปสงค์อุปทาน ที่มีหลักว่าเมื่อต้องการมากขึ้นแต่ปริมาณเท่าเดิม ราคาก็ต้องเเพงขึ้น

แต่หากย้อนกลับไปดูข้อกำหนดของระบบ Gold Standard จะพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนหรือราคาของเงินบาทที่ต้องใช้ดอลลาร์ซื้อหรืออัตราแลกเปลี่ยนนั้น มันเปลี่ยนแปลงไม่ได้ !!! เพราะค่าเงินแต่ละประเทศนั้นถูกผูกไว้กับทองคำ หากปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงได้ การเอาเงิน 4 ดอลลาร์สหรัฐฯไปซื้อเงินบาท อัตราส่วนระหว่างจำนวนเงินในระบบกับทองคำที่เก็บไว้จะเปลี่ยนไป 

จึงเหลือเพียงวิธีเดียวที่จะคงอัตราแลกเปลี่ยนไว้นั่นก็คือลดปริมาณเงินดอลลาร์สหรัฐฯลงและเพิ่มปริมาณเงินบาทเข้าไปนั่นเอง ซึ่งทำได้โดยการย้ายทองคำจากสหรัฐฯไปที่ไทยครับที่ทำได้เพราะกฎข้อที่สามนั่นเอง ปริมาณเงินบาทจะเพิ่มขึ้นขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐฯจะลดลง ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนยังคงเดิม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากปริมาณเงินบาทที่เพิ่มขึ้นก็คือเศรษฐกิจของไทยก็จะดีขึ้นเพราะเงินเพิ่มขึ้นมันก็เหมือนประเทศรวยขึ้นนั้นเเหละครับประมาณนั้น พอผู้คนมีเงินมากขึ้น ก็จับจ่ายใช้สอยมากขึ้น สวนทางกับสหรัฐฯที่เมื่อปริมาณเงินลดลง ผู้คนจะใช้จ่ายน้อยลง เมื่อไทยต้องการบริโภคมากขึ้นจนผลิตในประเทศไม่ทัน ก็ต้องหันไปพึ่งพาการนำเข้ามากขึ้น ไทยจึงไปนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯบ้างขณะที่สหรัฐฯก็ต้องส่งออกให้มากขึ้นเพราะผลผลิตเหลือเนื่องจากคนใช้จ่ายน้อยลง เมื่อไทยนำเข้ามากขึ้น ผลที่ตามมาก็จะวนกลับไปข้างต้น แต่กลับทิศทางกันนั่นเอง

จุดเเข็งของระบบมาตราฐานทองคำก็คือเศรษฐกิจจะสามารถปรับตัวได้เองตามหลักของอุปสงค์เเละอุปทาน กลไกของมาตรฐานทองคำจะทำหน้าที่ปรับสมดุลของระบบเศรษฐกิจ ธนาคารกลางจากประเทศต่างๆก็ไม่ต้องไปเสียเวลาแทรกแซงเศรษฐกิจเหมือนในปัจจุบันที่ต้องอัดสภาพคล่องเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ในช่วงที่มีการใช้ระบบมาตรฐานทองคำ ระบบการเงินระหว่างประเทศถือว่ามีเสถียรภาพและราบรื่น มีการขยายตัวของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมทั้งมีปัญหาความขัดแย้งในนโยบายของประเทศต่างๆ ค่อนข้างน้อย เรียกได้ว่าช่วงเวลาในยุคมาตราฐานทองคำนั้นเป็นยุคทองของความสัมพันธ์ทางการเงินระหว่างประเทศเลยทีเดียว

มาถึงตรงนี้หลายคนคงจะเริ่มเห็นภาพมากขึ้นเเล้วนะครับว่าทองคำนั้นมีความใกล้ชิดกับระบบการเงินของโลกอย่างใกล้ชิดเเละสาเหตุที่ทำไมทุกประเทศถึงมีทองคำเก็บไว้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศกัน แต่ทุกระบบนั้นก็มีอายุของมันครับรวมถึง Gold Standard เองก็เช่นกัน ทีนี้เรามาดูกันต่อดีกว่าว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบ Gold Standard ที่ทำให้ท้ายที่สุดเเล้วต้องยกเลิกเเละเปลี่ยนระบบไป

สาเหตุหลักที่ทำให้ระบบมาตราฐานทองคำต้องถูกยกเลิกไปนั้นมีอยู่หลักๆด้วยกัน 4 ปัจจัยครับ

  1. ระบบนี้จำนวนเงินในระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับจำนวนทองคำที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศเก็บไว้ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่าบางประเทศนั้นก็มีเหมืองทองคำเป็นของตัวเองแต่บางประเทศไม่มี หมายความว่าประเทศที่มีเหมืองทองคำก็จะสามารถผลิตเงินได้เรื่อยๆ ต่างจากประเทศที่ไม่มีเหมืองทองคำก็อาจต้องกระเบียดกระเสียดกว่า
  2. อย่างที่กล่าวไป ระบบมาตรฐานทองคำจะช่วยปรับสมดุลเศรษฐกิจเอง ดังนั้นทำให้ไม่มีประเทศไหนที่ร่ำรวยหรือยากจนเกินไป เนื่องจากเมื่อถึงจุดหนึ่ง ระบบจะช่วยปรับให้ทุกสิ่งทุกอย่างให้กลับสู่สมดุลของมัน แต่ประเด็นมันอยู่ตรงนี้เเหละครับอะไรที่เราเคยมีเราย่อมไม่อยากเสียมันไป…. เมื่อประเทศกำลังร่ำรวยอยู่ดีๆ ต้องเข้าสู่ภาวะถดถอยซึ่งเป็นผลจากการปรับตัวในระบบมาตรฐานทองคำ รัฐบาลที่บริหารประเทศนั้นย่อมไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ด้วยเหตุผลทางการเมืองหรืออะไรก็เเล้วเเต่
  3. เนื่องจากกฎของมาตราฐานทองคำนั้นไม่ได้บอกไว้ว่าสัดส่วนระหว่างทองคำและเงินในประเทศมันเปลี่ยนไม่ได้ วิธีการที่ประเทศส่วนใหญ่ทำก็คือ ลดค่าเงินตัวเองมันซะเลย เพราะกฎก็ไม่ได้บอกนี่นาว่าห้ามเปลี่ยนแปลงค่าเงินที่ผูกไว้กับทองคำ เช่นจากเดิมที่บอกว่าเงิน 40 ดอลลาร์สหรัฐฯแลกทองคำได้ 1 ออนซ์ ก็บอกใหม่ ว่าให้เงิน 80 ดอลลาร์สหรัฐฯแลกทองได้ 1 ออนซ์ละกัน ผลที่ตามมาคือค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯก็ลดมูลค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินในประเทศอื่นๆ ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อให้สินค้าที่ตนส่งออกมีค่าถูกลงในสายตาของประเทศอื่น เพื่อให้ส่งออกได้มากขึ้นตลอดไป ประเทศอื่นก็เช่นกันครับ ต่างแข่งขันกันลดค่าเงินของตัวเองรวมทั้งเล่นนอกเกมโดยการออกกฎหมายกีดกันการค้ากับประเทศอื่นเสียด้วยซ้ำ
  4. เเละปัจจัยข้อสุดท้ายก็คือการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 นั่นเอง ที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1  ประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมสงครามได้ประกาศยกเลิกการแลกเปลี่ยนเงินตรากับทองคำ รวมถึงห้ามส่งออกทองคำเพื่อรักษาทุนสำรองของประเทศ

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นมา ระบบมาตรฐานทองคำก็ถูกพับเก็บเอาไว้ก่อนเนื่องจากในช่วงสงครามแต่ละประเทศก็ต้องการใช้เงินมากกว่าเหตุการณ์ในภาวะปกติเพื่อนำมาปกป้องประเทศของตนเองดังนั้นถ้าจะให้มัวเเต่มาอิงกับมาตราฐานทองคำนั้นก็ดูจะไม่สะดวกเท่าไรนัก วิธีการแก้ไขก็ง่ายๆเลยครับ เอามันดื้อๆเลยก็คือขอยกเลิกมาตราฐานทองคำไปก่อนละกัน สงครามจบเเล้วค่อยมาว่ากัน

เมื่อรบกันเสร็จเรียบร้อย ในระยะเเรกทุกประเทศก็พยายามหันกลับมาใช้ระบบมาตรฐานทองคำเหมือนเดิม แต่พอจบภาวะสงครามไปแต่ละประเทศก็ต่างพากันลดค่าเงินตัวเองเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ปัญหามันอยู่ที่ว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการพิมพ์เงินกันอุตลุตจนเงินกระดาษเพิ่มขึ้นพรวดพราด การจะรักษาสัดส่วนระหว่างทองคำและเงินกระดาษก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยากขึ้นกว่าเเต่ก่อนงมาตรฐานทองคำที่นำกลับมาใช้หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจึงดำเนินไปแบบทุลักทุเล จนสุดท้ายก็ต้องล้มเลิกกันไป เคราะห์ซ้ำกรรมซัดหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปได้ไม่นานโลกก็ได้เข้าสู่ภาวะสงครามอีกครั้ง นั่นก็คือสงครามโลกครั้งที่ 2 นั่นเอง ดังนั้นแต่ละประเทศจึงไม่สามารถรักษาสัดส่วนทองคำและเงินไว้ได้อีกแล้ว 

อย่างที่บอกไปครับว่าทุกระบบนั้นก็มีอายุของมัน เมื่อมาตราฐานทองคำแบบเดิมมันไปต่อไม่ไหวเเล้วก็ถึงคราวที่โลกการเงินจะต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งโดย ตัวละครพระเอกตัวใหม่ที่ปรากฎขึ้นมานั่นก็คือ

ข้อตกลง Bretton Woods System 

ข้อตกลงนี้จะเเตกต่างจาก Gold Standard อย่างไรเเล้วทองคำจะมีบทบาทเเบบไหนติดตามกันได้ต่อในตอนถัดไปเลยครับ

 

#ซื้อขายทองคำแท่ง#ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์#ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์#InterGOLD#ลงทุนทองคำแท่ง

สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
 Website : www.intergold.co.th
 Line : @intergold
 Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
Call : 02 – 2233 – 234

หรือสมัครเปิดพอร์ตออนไลน์คลิก : https://bit.ly/3dUqjSz



ราคาทอง
23 พฤศจิกายน 2567 | 10:34:28

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
23 พฤศจิกายน 2567 | 10:33:03

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
877.97

0.00

238.60

-0.43