สำหรับหนังสือที่ Bill Gates ได้เเนะนำให้นักศึกษาที่จบที่ USA ได้อ่านกันนั้นก็คือหนังเรื่อง “Factfulness: Ten Reasons We’re Wrong About the World — and Why Things Are Better Than You Think” ที่เขียนโดย Dr. Hans Rosling ซึ่งเค้าเคยพูดไปใน TED Talks หัวข้อเรื่อง How not to be ignorant about the world ? ไว้ด้วยสำหรับใครอยากลองฟังตามไปได้ที่ลิงค์นี้เลยครับ
https://www.ted.com/talks/hans_and_ola_rosling_how_not_to_be_ignorant_about_the_world#t-28547
หากให้สรุปหนังสือเล่มนี้ให้สั้นที่สุดก็ขอยกประโยคนี้ขึ้นมาเลยครับ
“While the world has changed, the world view has not”
ในขณะที่โลกเปลี่ยนไปแล้ว แต่มุมมองของคนยังไม่เคยเปลี่ยน…
โดย Dr. Han นั้นได้เสียชีวิตไปในปี 2017 ซึ่งเค้ารู้ตัวอยู่เเล้วจึงได้ยกเลิกงานทุกอย่าง เพื่ออุทิศเวลาในช่วงสุดท้ายของชีวิต เพื่อเขียนหนังสือเล่มนี้
โดยในช่วงเเรกของหนังสือจะให้เราทำแบบสอบถามทั้งสิ้น 13 ข้อ เกี่ยวกับ fact เกี่ยวกับโลกของเรา ซึ่งอันนี้ใครทำถูกเกินครึ่งถือว่าเทพมากครับ 555 จากนั้นเค้าก็จะพูดประมาณว่าเหนมั้ยหละว่าจริงๆ คุณไม่ได้รู้หรอกว่าตอนนี้โลกมันเป็นยังไงเเล้ว !! เพราะทุกวันนี้พวกเราโดน bias ต่างๆหลอกไงโดยในหนังสือเค้าจะใช้คำว่า Instinct ซึ่ง Dr. Han เค้าก็บอกว่าเรามาเปลี่ยนตัวเองให้เป็น fact base กันเถอะโดนการหลีกเลี่ยงการใช้ bias (Instinct) ทั้ง 10 ข้อนี้
โดยผมจะสรุปเเต่ละข้อให้อย่างคร่าวๆละกันนะครับว่าเนื้อหาโดยคร่าวๆเป็นยังไง
1.Gap หรือ ช่องว่าง ซึ่งคนส่วนใหญ่จะชอบมองอะไรเเบบสุดโต่งเเค่ 2 ด้านเช่นคนที่รวยที่สุดกับคนที่จนที่สุดมันห่างกันขนาดไหนทั้งๆที่ความจริงเเล้วคนส่วนใหญ่นั้นไม่ได้อยู่สุดโต่งแต่อยู่ตรงกลางต่างหาก
2.Negativity >> Good news is not news. อย่างที่รู้กันมนุษย์นั้นชอบเสพย์ดราม่าบางครั้งสื่อก็นำเสนอข่าวร้ายเกินความจริงเพื่อเเค่ต้องการขายข่าว เราจึงต้องพิจารณาข่าวร้ายต่างๆให้ดี ก่อนจะตัดสินใจเชื่ออะไร
ส่วนรูปนี้คือตัวอย่างที่เป็น fact ที่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ เพราะสื่อก็คงไม่นำเสนออะไรพวกนี้
3.Straight line ความเป็นจริงคือ . . ไม่ใช่ทุกอย่างที่เป็นกราฟเส้นตรงยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คืออายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์จริงอยู่ที่ว่าปัจจุบันเรามีอายุขับเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นเเต่เราไม่สามารถเป็นอมตะได้(ทาง physical) ดังนั้นอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์ก็จะเพิ่มขึ้นได้ถึงเเค่จุดๆนึงเท่านั้น
4.Fear >> “Fear” and “dangerous” จำไว้ว่า 2 สิ่งนี้นั้นไม่เหมือนกัน ความกลัวจะทำให้เรา panic เกินไปเสมอ เพราะ risk = danger * exposure ซึ่ง fear มันไม่ได้เพิ่มตัว danger เเต่มันเพิ่ม exposure ในการรับรู้ของเรา ซึ่งโดยธรรมชาติเเล้ว fear ที่เรามีต่อโลกใบนี้จะเเบ่งเป็น 3 ข้อหลักๆได้เเก่
- violence >> ความรุนเเรงไม่ว่าจะเป็นจากมนุษย์ สัตว์หรือจากธรรมชาติ
- captivity >> การขาดอิสระภาพ
- contamination >> การปนเปื้อนจากสื่งเป็นพิษ
5.Size ความจริงก็คือบางทีเราจะตกใจจากสิ่งที่สื่อนำเสนอมาเพียวๆเป็นตัวเลขเช่น ในปีที่เเล้วมีเด็กทารกตายถึง 4.2 ล้านคน !! ดูเยอะมากใช่มั้ยเเต่รู้หรือไม่ปีก่อนมีเด็กทารกตายไป 4.5 ล้านคน เเละในปี 1950 มีเด็กทารกตายไปถึง 14.4 ล้านคน เห็นมั้ยครับถ้าเรามองเเค่ประโยคเเรกเราก็คงรู้สึกตใจทั้งๆที่ความจริงมันดีขึ้นด้วยซ้ำ
6.Generalization เมื่อเราใช้ลักษณะโดยทั่วไปอธิบายหรือเปรียบเทียบ จำไว้ว่ามันอาจจะ misleading ได้ เช่นคุณเอาลักษณะทั่วไปของประชากรที่มีรายได้ใน level 4 ไปเปรียบเทียบกับประชากรที่มีรายได้อยู๋ใน level 1
7.destiny ตระหนักว่าหลายสิ่งหลายอย่าง (รวมถึงผู้คนประเทศศาสนาและวัฒนธรรม) ดูเหมือนจะคงที่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างช้าๆแต่จงจำไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่มีขนาดเล็กและช้าๆค่อยๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นคือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (นึกถึงดอกเบี้ยทบต้น)
8.single solution หรือการที่เรามีมุมมองเดียวนั้นจำกัด จินตนาการและจำได้ว่าควรดูปัญหาจากหลายมุมเพื่อให้เข้าใจถูกต้องและหาแนวทางปฏิบัติ ซึ่งในบทนี้มีหัวข้อนึงที่ชอบมากคือ Dr. Han บอกว่า Numbers are not the single solution ซึ่งมีการยกตัวอย่างมาว่าประธานาธิบดีของ Mozambique เคยบอก Dr. Han ว่าเค้าไม่ได้ดูตัวเลข GDP หรือ GDP per capita เเต่เค้าจะดูเท้าของประชากรเค้าในงานเทศกาลประจำปีว่า ประชาชนของเค้าใส่รองเท้าอะไร ซึ่งเค้าจะเอามาเปรียบเทียบกับปีก่อนๆว่าประชาชนของเค้าใส่รองเท้าที่ดีขึ้นหรือไม่
“The world cannot be understood without numbers. But the world cannot be understood with numbers alone”
9.blame เวลามีปัญหาหรือเกิดเรื่องอะไรขึ้นอะไรคือคำถามเเรกที่คุณถาม ใครเป็นทำความผิดนี้ ?หรือ ความผิดนี้มีสาเหตุมาจากอะไรเเละเราจะเเก้ไขมันยังไง ? จำไว้ว่าการโทษเเพะไม่ได้ช่วยให้ปัญหาอะไรดีขึ้น
10.urgency >> Now or Never ? , Tomorrow may be too late ? จริงอยู่ที่ว่าการไม่ลงมือทำอะไรเลยนั้นเเย่ เเต่การลงมือทำเเบบเร่งด่วนโดยที่คุณไม่คิดให้ดีมันก็เเย่พอๆกัน บางครั้งเราก็ต้อง take a breath บ้างค่อยๆคิดว่ามันด่วนจริงๆรึเปล่า ถ้ามันด่วนจริงๆ ก็พยายาม manage จัดการมันอย่างมีแผน
ปล. สุดท้าย หนังสือเล่มนี้ ทำให้มอง “โลก” ในแง่ดีมากขึ้น (โลกจริงๆ) ทำให้เราได้เห็นว่า โลกของเรามันมีมันมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
.
อย่างนิยาม คำว่า ประเทศกำลังพัฒนา กับ ประเทศที่พัฒนาเเล้วเชื่อว่าหลายคนไม่รู้ ว่าในปี 2016 UN และ World Bank ได้ตัดสินใจ ยกเลิกการแบ่งประเทศในโลกด้วย 2 คำนี้ไปแล้ว เพราะ
The world has changed but The world view was not .
.
หนังสือเล่มนี้เป็นอีกเล่มนึงที่อาจเปลี่ยนความคิดของหลายๆคนได้ไม่มากก็น้อยครับ
#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้
สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดต
Website : www.intergold.co.th
Line : @intergold
Facebook : https://www.facebook.com/
Call : 02 – 2233 – 234