fbpx
Card image cap

ใครเป็นอาจารย์ของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์ ” (ตอนที่3)

วันที่ 22 กันยายน 2561 เวลา 11.20 น.

วอเรน บัฟเฟต นักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ แล้วใครสอนเขา? (ตอน 3)

บทความนี้ถือเป็นตอนจบของซีรี่ย์บทความนี้แล้วนะครับ (ย้อนอ่านทั้งสองบทความก่อนหน้าได้ที่ ใครเป็นอาจารย์ของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์ ” (ตอนที่1) ใครเป็นอาจารย์ของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์ ” (ตอนที่2)) จากทั้งสองบทความที่ผ่านมา ผู้อ่านทุกท่านก็คงได้ทราบกันแล้วว่าแนวคิดการลงทุนของผู้ที่นับว่าเป็นต้นแบบทางความคิดการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นั้นเป็นอย่างไร บทความนี้ก็ได้เวลานำแนวคิดของทั้งสองท่านมาจำแนกให้เห็นว่า วอเรน บัฟเฟต นั้นดึงแนวคิดอะไร มาจากใคร เพื่อนำมาใช้เป็นหลักคิดทางการลงทุนของเขานะครับ  ถ้าพร้อมแล้วเราไปพบกับบทสรุปของบทความซีรี่ย์นี้กันเลยครับ…

 

สรุปแนวคิดการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์

วอเรน บัฟเฟต ทำตามหลักการลงทุนของเกรแฮม 85%  และ ทำตามฟิชเชอร์ 15%

 

#หลักการจากเกรแฮม

-บัฟเฟตต์มองว่าหนังสือ the intelligent investor เป็นหนังสือที่ดีที่สุด เพราะทำให้คนธรรมดาสามารถเข้าใจได้ และแสดงให้เห็นว่าตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้ดำเนินการด้วยมนต์ดำ

บัฟเฟตต์ มองแนวคิดของเกรแฮมที่กล่าวว่า “การลงทุนเป็นการทำธุรกิจ” ถือเป็นหลักการที่สำคัญที่สุด คติพจน์โด่งดังของบัฟเฟตคือ “ฉันเป็นนักลงทุนที่เหนือกว่า เพราะฉันเป็นนักธุรกิจ และฉันเป็นนักธุรกิจที่เหนือกว่า เพราะฉันเป็นนักลงทุน” = เมื่อเราลงทุนในหุ้น เราลงทุนในธุรกิจนั่นเอง ถ้าธุรกิจไปได้สวย หุ้นก็ดีตามไปด้วยนั่นเอง

บัฟเฟตมองว่าตัวเองคือ นักวิเคราะห์ธุรกิจ ไม่ใช่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจ และก็ไม่ใช่นักวิเคราะห์หุ้น

-บัฟเฟตทำตามคำแนะนำหลักการลงทุนของเกรแฮมนั้นคือ เขาจะไม่ลงทุนในธุรกิจที่เขาไม่เข้าใจ และเขาจะเน้นเรื่องความซื่อสัตย์ของผู้บริหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุด รวมทั้งลงทุนแบบจำกัดความเสี่ยง เขาจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ประวัติทางการเงินย่ำแย่ แต่มีเรื่องราวของอนาคตที่สดใส เขาเลือกที่จะข้ามโอกาสนั้น

-บัฟเฟตใช้หลักส่วนเผื่อความปลอดภัย (Margin of safety) ของเกรแฮม มาพิจารณาการเข้าลงทุนของเขาทุกครั้ง

-บัฟเฟตจะชอบใช้วิธีดั้งเดิมแบบเกรแฮมในการประเมิลมูลค่าหุ้น

-บัฟเฟตไม่ใช้โมเดลการตั้งราคาหลักทรัพย์(capm)ซึ่งเป็นโมเดลใหม่และไม่มีในยุคของเกรแฮม ซึ่งเป็นวิธีประเมินความเสี่ยงที่ช่วยวิเคราะห์ส่วนชดเชยความเสี่ยงทางคณิตศาสาตร์สำหรับลงทุนในหุ้น ยิ่งความเสี่ยงมากเท่าไหร่ อัตราคิดลดยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น สูตรของcapmคือ r=rf + B(rm-rf)  บัฟเฟตไม่เห็นด้วยกับค่าสัมประสิทธิ์เบต้าที่จะสะท้อนความผันผวนของราคาหุ้น  ในมุมมองนักลงทุนระยะยาวหรือ “ตลอดไป” ความเสี่ยงไม่ได้อยู่ที่ความผันผวนราคาในตลาด วอเรนเชื่อว่าความเสี่ยงเกิดจากการขาดความรู้ในบริษัทนั้นๆหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ เขาไม่เชื่อในการประเมินราคาของตลาดในระยะสั้นแบบนี้

-บัฟเฟตลงทุนโดยการมองหาหุ้น “ก้นบุหรี่” เป็นระยะเวลานานจนถึงจุดหนึ่งเขาเลิกติดตามซื้อหุ้น “ก้นบุหรี่” แล้วหันมาเก็บผลเชอรี่จากหุ้นที่มีราคาแพงกว่าแต่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า โดยบัฟเฟตยังรักษาการซื้อหุ้นที่ราคาต่ำเอาไว้เพื่อเผื่อส่วนความปลอดภัยและจะทำกำไรได้ในอนาคต

ช่วงต้นปี ค.ศ. 1970 บัฟเฟตเปลี่ยนไปลงทุนเชิงคุณภาพมากขึ้น โดยแนวคิดใหม่ของบัฟเฟตคือ “ซื้อบริษัทที่ดีเยี่ยมในราคาพอประมาณ ดีกว่าซื้อบริษัทพอประมาณในราคาที่ดีเยี่ยม” ซึ่งวิธีคิดนี้ต่างจากของเกรแฮม เพราะสำหรับเกรแฮมนั้นขอเพียงแค่ซื้อในราคาถูก โดยตัวกิจการไม่ดีไม่แย่ ซึ่งเรียกว่าเป็นหุ้น “ของชำไม่ใช่น้ำหอม” แต่การลงทุนของบัฟเฟตในช่วงหลังในบริษัทโคคาโคล่าหรือยิลเลตต์ เป็นการซื้อ “หุ้นน้ำหอม” นั่นก็คือ โค้ก กับ ยินเลต

บัฟเฟตจะแตกต่างจากเกรแฮมในเรื่องของช่วงเวลาในการถือหุ้น เกรแฮมจะไม่ยึดถือช่วงเวลาและมักจะขายหุ้นออกไปเมื่อมันไต่ถึงระดับหนึ่ง ส่วนบัฟเฟตจะถือหุ้นในบริษัทที่เขาเลือกซื้อแบบ “ตลอดไป” ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับทางฟิชเชอร์

 

 

#หลักการจากฟิชเชอร์

-บัฟเฟตมองว่าฟิชเชอร์คือหนึ่งในคนแรกๆที่ “พัฒนาสมมุติฐานว่าหุ้นเติบโตจะมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งทำให้แตกต่างจากหุ้นทั่วไป”

-บัฟเฟตนำวิธีการเลือกบริษัทที่จะลงทุนจากหนังสือที่ฟิชเชอร์เขียนไว้ (อ่านได้จากบทความตอน 2) มาใช้ร่วมกับการเลือกบริษัทที่จะลงทุนของเกรแฮม ( บทความตอน 1)

-ฟิชเชอร์มองว่าบริษัทเทคโนโลยีคือเพื่อนแท้ของนักลงทุนหุ้นเติบโตแต่บัฟเฟตกลับมองว่าการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีนั้นมีความเสี่ยงสูง

บัฟเฟตนำความคิดในแบบของฟิชเชอร์มาใช้ในเรื่องของการซื้อแล้วถือ “ตลอดไป”

-บัฟเฟตจะเน้นมองดูความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญมาก ซึ่งตรงกับแนวคิดของฟิชเชอร์ที่พูดถึงเรื่องของการทำกำไรในระยะยาวของบริษัท ตามหลักการเลือกบริษัทในหนังสือที่เขาเขียนไว้ รวมถึงทันคติของบุคลากรในองค์กร ความสำคัญของการลงทุนระยะยาวของบริษัท และการเพิ่มทุนโดนการจำหน่ายหุ้น

บัฟเฟตคิดต่างกับฟิชเชอร์ในเรื่องของเงินปันผล บัฟเฟตมองว่าถ้านำเงินกำไรกลับไปลงทุนใหม่แล้วจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าเดิม ก็ควรทำแบบนั้นแทนการจ่ายเงินปันผล

 

บทสรุป

ทั้งเกรแฮม ฟิชเชอร์ และบัฟเฟต ต่างระมัดระวังในการกระจายการลงทุนเพื่อเป็นเครื่องมือลดความเสี่ยง แต่ทั้งสามก็มองตรงกันว่า ถ้ามุ่งสนใจแต่จะกระจายความเสี่ยง แต่ไม่สนใจในรายละเอียดของบริษัทที่ซื้อให้ดีพอ แบบนั้นไม่ใช่สิ่งที่ดี   การที่เลือกโอกาสลงทุนจากการมีลิสรายชื่อบริษัทมากมายในมือไม่ใช่สิ่งที่ดี แต่แสดงถึงความไม่มั่นใจในตนเอง  ทั้งสามมองว่าควรทำความเข้าใจในบริษัทให้มาก และสนใจว่าบริษัทที่จะลงทุนนั้นยึดปฏิบัติในธรรมเนียมธุรกิจดีพอรึยัง เพราะมันจะอันตรายกว่าการที่ไม่กระจายความเสี่ยงหลายเท่าถ้ากระจายความเสี่ยงแต่ไปซื้อหุ้นบริษัทที่ไม่โปร่งใส และทั้งฟิชเชอร์กับเกรแฮม เห็นตรงกันว่า มันเป็นเรื่องยากที่จะตอบว่าอะไรจะทำให้หุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงขึ้นไปได้และขึ้นเมื่อไหร่ แต่สุดท้ายแล้วตลาดจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นตัวนั้น

ดังนั้น คงจะดีไม่น้อยถ้าเราได้ซื้อหุ้นของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์(หุ้นเติบโต ปันผลดี) ในราคาของเบนจมิน เกรแฮม(ราคาถูกแสนถูก) แต่วอเรนมองว่าสามารถทำได้ทั้งคู่ ที่จะซื้อหุ้นดี ฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง มีการเติบโตตลอด ปันผลดี ในจังหวะเวลาและราคาที่เหมาะสม แล้วถือตลอดไป

สุดท้ายนี้ ผมหวังว่าบทความซีรี่ย์นี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้อ่านที่ชื่นชอบศึกษาหลักปรัชญาการลงทุนของ วอเรน บัฟเฟต หรือหลักการลงทุนแนวปัจจัยพื้นฐาน ได้ทราบถึงที่มาของแนวคิดเหล่านั้น จนออกมาเป็นแนวคิดที่คุณลุงบัฟเฟตยึดถือมาโดยตลอด เราในฐานะนักลงทุนตัวเล็กๆคนหนึ่งถึงจะไม่ได้มีพอร์ทใหญ่โตเหมือนคุณลุงบัฟเฟต แต่ถ้าเรานำแนวคิดอันมีประโยชน์นี้มาปรับใช้กับแนวทางการลงทุนของเรา ก็จะช่วยให้การลงทุนของเรามีหลักที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ไม่หวั่นไหวต่อเสียงรอบข้างหรือข่าวได้ง่ายจนเกินไป สุดท้ายจะนำมาซึ่งความเชื่อมั่นในตนเองรวมถึงความสุขจากจิตใจที่สงบจากการลงทุนเพิ่มมากขึ้น พอร์ทเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาวนะครับ  โชดดีในการลงทุนทุกท่านครับ

 

บทความโดย Mr.Intergold

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือ “ปรัชญาการลงทุนของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ : The Warren Buffett Philosophy of Investment” ผู้เขียน: Elena Chirkova  ผู้แปล : กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ,พรรณชญาน์ ชัยสมิทธินันท์

 

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
 Website : www.intergold.co.th
 Line : @intergold
 Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
Call : 02 – 2233 – 234



ราคาทอง
24 พฤศจิกายน 2567 | 22:28:33

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
23 พฤศจิกายน 2567 | 23:57:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
877.97

0.00

238.60

-0.43