fbpx
Card image cap

ปฏิวัติอิหร่าน จุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้งกับอเมริกา

วันที่ 8 มกราคม 2563 เวลา 11.03 น.

ปฏิวัติอิหร่าน จุดเริ่มต้นแห่งความขัดแย้งกับอเมริกา

เมื่อผู้นำในภูมิภาคตะวันออกกลางประกาศกร้าวพร้อม “แก้แค้นอย่างสาสม” กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสังหาร นายพล Qassem Soleimani ผู้นำกองทัพคนสำคัญของอิหร่าน เมื่อเช้าวันเสาร์ที่ 4 มกราคมที่ผ่านมา ขณะเดินทางจากสนามบินนานาชาติอิรัก ในกรุงแบกแดด
นั่นจึงเป็นตัวจุดชนวน เปรียบเสมือนราดน้ำมันลงไปในกองเพลิงของอเมริกาที่โดยปกติก็มีความขัดแย้งกับทางอิหร่านอยู่แล้ว ยิ่งเป็นการโหนกระหน่ำกระแสของการเกิด WWlll เข้าไปอีก ส่งผลให้ หุ้นร่วง น้ำมัน ทองคำ ทะยานขึ้นสูง โดยเฉพาะทองคำ
และเมื่อช่วงเช้าได้มีการโจมตีฐานทัพอเมริกาส่งผลทำให้ราคาทองคำดีดตัวขึ้นมาถึงกว่า 40 เหรียญ

แต่ประเด็นที่เราจะพูดถึงกันก็คือแล้วทำไม ทั้งสองประเทศถึงมีความขัดแย้งกันต้นเหตุมาจากอะไรทั้งๆที่ในอดีตเคยเป็นดั่งมหามิตร

เริ่มจากการ “ปฏิวัติอิหร่าน”

ในอดีตสหรัฐอเมริกา มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอิหร่านมาก เรียกได้ว่าอิหร่านเป็นพันธมิตรคนสำคัญที่สุดของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคตะวันออกกลาง จนกระทั่งมีการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้น

ย้อนกลับไปในปี 1953 สหรัฐฯ ได้เข้าไปสนับสนุนการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลที่นำโดยนายโมฮัมหมัด โมซาเดกห์เนื่องจากเขาดำเนินนโยบายหลายอย่าง ที่ไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาและชาติตะวันตก หลังจากนั้นสหรัฐฯ ได้สนับสนุนพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ให้ขึ้นมามีอำนาจ หลังจากนั้น อิหร่านและสหรัฐฯ จึงมีความสนิทสนมกันมากยิ่งขึ้น

แม้จะดูว่าทั้งสองประเทศจะมีความสัมพันธ์อันดี แต่กลับมีจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ และอิหร่านแตกคอกัน ซึ่งสาเหตุเริ่มต้นจากในปี 1979 ที่มีการปฏิวัติอิหร่านได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในอิหร่าน
จากระบบกษัตริย์มาเป็นระบอบสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน
เนื่องด้วยอิหร่านเป็นชาติมุสลิมชีอะฮ์ ที่ต้องการส่งออกแนวคิดการปฏิวัติอิสลาม ไปยังโลกอาหรับอื่น ๆ ทำให้ซาอุดิอาระเบียซึ่งเป็นระบอบกษัตริย์และเป็นมุสลิมนิกายซุนนี เกิดความรู้สึกว่าอิหร่าน เป็นภัยคุกคามของประเทศทำให้เกิดปัญหาระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านขึ้น
หลังจากการปฏิวัติในปี 1979 รัฐบาลอิหร่านที่มีรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี เป็นผู้นำสูงสุดในขณะนั้น ได้ยึดสัมปทานน้ำมันและกิจการต่างๆ ที่มีสหรัฐเป็นผู้ควบคุมอยู่มาเป็นของตัวเอง ส่งผลให้สหรัฐฯ เกิดความไม่พอใจและมีปัญหากับอิหร่านมาจนถึงทุกวันนี้

การปฏิวัติครั้งนั้นสร้างความประหลาดใจไปทั่วโลก เพราะการปฏิวัติอิหร่านเกิดขึ้นโดยการปฏิวัติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ แตกต่างจากการปฏิวัติในประเทศอื่น ๆ โดยไม่ได้มีมูลเหตุดังเช่นที่เคยมีมา เช่น เกิดวิกฤติเศรษฐกิจการเงิน การก่อกบฏ การยึดอำนาจของกองทัพ การแพ้สงคราม หรือถูกแทรกแซงจากต่างชาติ ฯลฯ และเกิดขึ้นในช่วงที่อิหร่านค่อนข้างเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่งทางวัตถุ

ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์สะท้านโลก มีกลุ่มนักศึกษาอิหร่านบุกเข้ายึดสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงเตหะราน จับชาวอเมริกัน 52 คนเป็นตัวประกัน เพื่อตอบโต้ที่ “พระเจ้าชาห์” ถูกรับเข้ารักษาพระวรกายในโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สหรัฐอเมริกาตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิหร่านในปี 25232 นับตั้งแต่บัดนั้นมา ก่อนตัวประกันทั้งหมดถูกปล่อยตัวเมื่อ 21 มกราคม 2524 หลังถูกจับถึง 444 วัน

ตั้งแต่นั้นมา “สหรัฐอเมริกา” กับ “อิหร่าน” ก็กลายเป็นศัตรูคู่แค้นกันมาตลอดกว่า 40 ปี

ข้อตกลงนิวเคลียร์

ในยุคของนายบารัค โอบามา รัสเซียเข้ามามีบทบาทในตะวันออกกลางมากยิ่งขึ้น รวมถึงรัสเซียยังให้การสนับสนุนของอิหร่าน ขณะนั้น สหรัฐฯ ที่มีนายบารัค โอบามาเป็นประธานาธิบดี มีท่าทีที่ประนีประนอมและมองว่าไม่มีวิธีไหนที่จะดีกว่าการทำข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน เพราะกลัวว่า จะไม่สามารถยับยั้งการพัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่านได้ ขณะที่อิหร่านที่ถูกคว่ำบาทมานาน และมีเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ จึงเห็นด้วยว่าจะต้องทำข้อตกลงนิวเคลียร์ขึ้นเพื่อประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย

ความขัดแย้งระรอกใหม่

หลังจากที่นายบารัค โอบามา ลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ และได้นายโดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีแทน เนื่องด้วยทรัมป์เป็นผู้ที่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอิสราเอลอย่างมาก ถึงขั้นเคยประกาศชัดว่าจะให้การสนับสนุนอิสราเอล

นอกจากนี้ ทรัมป์ยังเคยวิจารณ์นโยบายของนายบารัค โอบามา ที่มีต่ออิหร่าน ทำให้หลังจากนั้น นายโดนัลด์ ทรัมป์ หาเรื่องฉีกสัญญาข้อตกลงกับอิหร่าน โดยอ้างว่ามีข้อมูลที่อิหร่านละเมิดข้อตกลงนิวเคลียร์ และยังคงแอบสะสมแร่ยูเรเนียม รวมถึงพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อยู่ โดยสหรัฐฯ ได้หลักฐานบางส่วนมาจากอิสราเอล
นอกจากนี้ ทรัมป์ยังเคยวิจารณ์นโยบายของนายบารัค โอบามา ที่มีต่ออิหร่าน ทำให้หลังจากนั้น นายโดนัลด์ ทรัมป์ หาเรื่องฉีกสัญญาข้อตกลงกับอิหร่าน โดยอ้างว่ามีข้อมูลที่อิหร่านละเมิดข้อตกลงนิวเคลียร์ และยังคงแอบสะสมแร่ยูเรเนียม รวมถึงพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อยู่ โดยสหรัฐฯ ได้หลักฐานบางส่วนมาจากอิสราเอล
ซึ่งหลังจากที่สหรัฐฯ ออกจากข้อตกลงนี้ไป ก็ได้เดินหน้ามาตรการคว่ำบาตรอิหร่านอย่างเต็มสูบ โดยไม่ให้อิหร่านสามารถค้าขายหรือส่งออกสินค้าต่าง ๆ รวมถึงน้ำมันไปยังประเทศอื่น พร้อมทั้งประกาศจะลงโทษประเทศหรือบริษัทที่ค้าขายกับอิหร่านด้วย ทำให้สถานการณ์ระหว่างทั้งสองประเทศ กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง

นอกเหนือปัญหาจากภายนอกแล้ว อิหร่านยังต้องประสบปัญหาความไม่สงบภายใน เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนออกมาประท้วงรัฐบาล เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ย่ำแย่ รวมถึงชาวอิหร่านรุ่นใหม่ ต่างออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอิหร่าน โดยระบุว่ารัฐบาลอิหร่าน มุ่งเน้นแก้ปัญหาภายนอกประเทศ แต่กลับเพิกเฉยต่อการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนภายในประเทศ

เรียกได้ว่าเกมนี้ ไม่ว่าอิหร่านจะเลือกทางใด ก็ตกอยู่ในสภาพ ‘ผู้เสียเปรียบ’ ไปเสียทุกทาง

ปล. ก็ไม่แน่ใจว่านายทรัมป์เป็นนักลงทุนทองคำหรืออย่างไร เพราะ Action อะไรมาแต่ละครั้งมันช่างหนักหน่วยซะเหลือเกินแนะนำให้นักลงทุนทองคำเฝ้าติดตามทวิตเตอร์เอาไว้ให้ดีนะจะบอกให้



ราคาทอง
23 พฤศจิกายน 2567 | 12:36:37

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
23 พฤศจิกายน 2567 | 12:33:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
877.97

0.00

238.60

-0.43