fbpx
Card image cap

จุดเริ่มต้นความขัดเเย้งรัสเซีย – ยูเครน

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 17.38 น.

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งรัสเซีย – ยูเครน

 

ช่วงเช้าของวันอังคารที่ผ่านมา (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565) ทองคำได้พุ่งไปที่ 1910$  แตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน เชื่อว่านักลงทุนหลายท่านอาจจะสงสัยว่ามีปัจจัยอะไรส่งเสริมให้ทองคำดีดตัวได้ขนาดนี้ สาเหตุหลักเลยคือในคืนวันจันทร์ที่ผ่านมา (วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565) สงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครนได้ทวีความตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง สาเหตุมาจากที่มีรายงานข่าวว่า ทางรัสเซียได้สังหารทหารยูเครนที่ล้ำพรมแดนไป 5 ราย และได้ทำการเคลื่อนพลเข้ายูเครนตะวันตกเพื่อช่วยประกาศว่าหลังจากนี้ยูเครนตะวันตกจะเป็นอีกประเทศที่แยกออกมาจากยูเครนเดิม ส่งผลให้สถานการณ์ตึงเครียดเป็นอย่างมากเพราะนี่อาจเรียกได้ว่าเป็นการแบ่งแยกดินแดนในโลกสมัยใหม่ที่ไม่ได้เห็นมานาน นับตั้งแต่ยุคสงครามโลก แต่ไม่นานกลับมารายงานออกมาว่าทางปูตินกล่าวว่าการเจรจายังคงต้องมีต่อไป ซึ่งทำให้ตลาดการลงทุนทั่วโลกผันผวนอย่างหนัก วันนี้เราจะมาย้อนจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย และยูเครนกันว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร อินเตอร์โกลด์จะมาเล่าให้ฟังครับ

ต้องย้อนไปนับตั้งแต่ที่ยูเครนแยกตัวเป็นเอกราชจากสาธารณรัฐรัสเซีย ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 มีการให้คำสัญญากันว่า NATO จะไม่ขยายตัวเองมากกว่านี้
ช่วงที่ NATO ให้คำมั่นนี้ คือช่วงก่อนสหภาพโซเวียตล่มสลาย

อาณาเขต NATO คือภาพแรก ภาพสองคือหลังโซเวียตล่มสลาย

แต่ถ้ากลับมาดู จะพบว่าตรงกลางจริงๆ ตอนนี้ ระหว่างรัสเซีย (สีแดง) กับประเทศ NATO (สีน้ำเงิน) จะเหลืออยู่แค่ประเทศหลัก ๆ ที่เรียกได้ว่าทำหน้าที่เป็น buffer state หรือรัฐกันชนสองประเทศ นั่นก็คือเบลารุส กับ ยูเครน นั่นเอง

แต่ในช่วงต้นคริสต์ศักราช 2000 ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับชาติตะวันตกเพิ่มมากขึ้นถึงขั้นที่ว่า NATO ได้ให้สัญญาที่กลายมาเป็นประเด็นถึงปัจจุบันว่าในวันหนึ่งยูเครนจะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก NATO.
.
ต่อมาในปี 2014 ชนวนขัดแย้งที่นำมาสู่การแตกหักถึงขั้นทำสงครามครั้งแรกระหว่างรัสเซียและยูเครนก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดการเดินขบวนของกลุ่มผู้ประท้วงสนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคไครเมีย (Crimea) ที่เรียกร้องให้รัฐสภาท้องถิ่นต่อต้านรัฐบาลกลางชุดใหม่ และต้องการให้เปิดทำประชามติสถานะของไครเมียเพื่อแยกดินแดนผนวกรวมกับรัสเซีย ซึ่งประชามติก็ผ่านว่าไครเมียต้องการปนวกกลับไปเป็นของรัสเซีย
.
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยูเครนไม่ยอมรับการผนวกรวมไครเมียเข้ากับรัสเซีย โดยประกาศว่าไครเมียเป็นดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไว้ชั่วคราว เช่นเดียวกับสหประชาชาติ ซึ่งมีมติไม่ยอมรับและประณามการผนวกรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
.
นอกจากไครเมียแล้ว ยูเครนยังเผชิญการสู้รบกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่สนับสนุนรัสเซียในภูมิภาคดอนบาส (Donbas) ทางตะวันออกของประเทศ  ซึ่งยูเครนและชาติตะวันตกกล่าวหารัสเซียว่าส่งกำลังทหารและอาวุธไปช่วยกลุ่มกบฏในดอนบาส แต่รัฐบาลมอสโกปฏิเสธ
.
ความสัมพันธ์ระหว่างยูเครนกับรัสเซียนั้นมีแต่แย่ลงสวนทางกับ ความสัมพันธ์ยูเครนกับชาติตะวันตกที่มีแต่ดีขึ้น โดยในปี 2017 มีการทำข้อตกลงระหว่างยูเครนกับ EU ทั้งการเปิดตลาดการค้าเสรีและการอนุมัติให้ชาวยูเครนเดินทางเข้า EU โดยไม่ต้องอนุมัติ Visa
.

สิ่งที่รัสเซียต้องการคืออะไร ?


ปูตินเอง ได้ออกมาบอกว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา รัสเซียพยายามเจรจาให้โลกตะวันตกเข้าใจมาตลอด ว่าสิ่งที่รัสเซียต้องการคือ
.
1. NATO ปฏิเสธไม่รับยูเครนเข้า
2. NATO ถอดกองทัพออกจากโปแลนด์ โรมาเนีย และบัลกาเรีย
3. ยูเครนต้องยอมรับอาณาเขตดอนบาส และไครเมีย ว่าเป็นของรัสเซียแล้ว
.
อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ปฏิเสธข้อเรียกร้องของรัสเซีย เช่นเดียวกับ NATO ที่ปฏิเสธข้อเรียกร้องให้ยกเลิกคำมั่นสัญญาในปี 2008 ซึ่งระบุว่าจะให้ยูเครนเป็นสมาชิกในสักวันหนึ่ง โดย NATO ยืนยันว่าจะมีการพิจารณาคำขอเข้าร่วมของยูเครนเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และรัสเซียไม่สามารถยับยั้งการตัดสินใจของ NATO ได้

.
จะเกิดสงครามหรือไม่ ?


ด้านฝั่งรัสเซียได้มีการเคลื่อนกำลังทหารรัสเซียกว่า 1แสนนาย เข้าประชิดแนวชายแดนยูเครน และได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีแผนการใดๆ ในการรุกรานยูเครน และกล่าวหาชาติตะวันตกที่พยายามทำให้สถานการณ์แย่ลง โดย ดิมิทรี เปสคอฟ โฆษกของปูติน กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ยิ่งส่งผลให้เกิดความตึงเครียดมากขึ้น แต่ในสถานการณ์ล่าสุดนายปูตินได้ไปรับรองเอกสารของสองดินแดนในยูเครนตะวันออก ยิ่งเป็นที่น่าจะตาเพราะ เป็นการเพิ่มกระแสความตึงเครียดเข้าไปอีก
.
ด้านฝั่ง NATO ที่นำโดยสหรัฐ ประกาศกร้าวจะตอบโต้รัสเซียอย่างรุนแรงหากเปิดฉากบุกยูเครน ขณะที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เริ่มสั่งการให้กำลังทหารในยุโรปกว่า 8,500 นาย เตรียมความพร้อมสำหรับการส่งไปยุโรปตะวันออก ส่วน NATO ก็มีการส่งเรือและเครื่องบินรบหลายลำ ไปเตรียมสนับสนุนการป้องกันในภูมิภาค
.
จากสถานการณ์ตอนนี้ยังถือว่าตึงเครียดอย่างมาก แต่ก็ยากที่จะตอบได้ว่าจะเกิดสงครามขึ้นหรือไม่ เพราะหากเกิดขึ้นจริงๆ ส่วนใหญ่แล้วมีแต่จะเสียกับเสีย

หากเกิดสงครามจริงๆจะเกิดอะไรขึ้น ?
.
มีการวิเคราะห์กันว่ารัสเซียสามารถเคลื่อนกำลังทหารเข้าสู่ยูเครนและกุมชัยชนะได้อย่างรวดเร็วโดยที่ทาง NATO ไม่สามารถช่วยเหลือได้ทัน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นรัสเซียจะเพิ่มอำนาจการต่อรองกับฝั่ง NATO เเละ ชาติตะวันตกได้
.
แต่ทางฝั่ง NATO เเละชาติตะวันตก ก็ประกาศว่าจะคว่ำบาตรทางการเงินครั้งใหญ่ต่อรัสเซีย ชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน หากปูตินสั่งให้กำลังทหารเคลื่อนทัพเข้าสู่พรมแดนยูเครน โดยสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรนั้นมีแผนที่จะคว่ำบาตรโดยตรงต่อปูตินด้วย
.
ด้านการลงทุนเอายังไงดี ?
.
จะเห็นได้ว่าปีนี้มีหลายปัจจัยมากจริงๆ หากไม่นับเรื่องสงคราม ด้านเศรษฐกิจก็หนักอยู่แล้วทั้ง Omicron ที่ยังไม่จบ ตัวเลขเงินเฟ้อทั่วโลกที่ขึ้นสูงจนกระทบกับค่าครองชีพ บางคนบอกว่าด้วยภาวะไม่แน่นอนเช่นนี้หากเป็นเมื่อก่อนคงเรื่องถือเงินสด แต่ด้วยภาวะแบบนี้ถ้าจะถือเงินสดทั้งหมด แต่เงินเฟ้อขนาดนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการถูกลดทอนกำลังซื้อไปเรื่อยๆ ตีมหลักๆ ในตอนนี้ก็คือควรหา Asset ที่ป้องกันทั้งภาวะเงินเฟ้อ และความไม่เเน่นอนทางการเมือง ซึ่ง Asset ที่ตรงกับตั้ง 2 ตีมนี้ก็หนีไม่พ้นทองคำนั่นเอง ดังนั้นการมีทองคำติดพอร์ทในช่วงนี้นับว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากๆครับ

 

อ่าน Content อื่นๆเพิ่มเติม : https://www.intergold.co.th/
เปิดพอร์ตออนไลน์ : https://bit.ly/3hPrVQi
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน InterGOLD :
👉 สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
📱 Line : @intergold https://lin.ee/jw9R4jm
💻 Facebook : InterGOLD Gold Trade
☎️ Call : 02 – 2233 – 234


ราคาทอง
23 พฤศจิกายน 2567 | 17:37:05

ประเภท รับซื้อ ขายออก
LBMA
99.99% (Baht)
-

0.00

-

0.00

InterGold
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

สมาคมฯ
96.5% (Baht)
-

0.00

-

0.00

Gold Spot
(USD)
-

0.00

-

0.00

ค่าเงินบาท
(USDTHB)
-
-

0.00

ราคาทองคำย้อนหลัง
ความเคลื่อนไหวกองทุนทองคำ
23 พฤศจิกายน 2567 | 17:36:02

SPDR (ton) (USD) HUI (USD)
877.97

0.00

238.60

-0.43