ไม่รู้เพื่อนๆจำกันไหม 10 ปีที่แล้วสมัยวิกฤตหนี้ซับไพรม์สหรัฐฯ ตอนนั้นหลายคนเสียเงินจำนวนมากไป วันนี้ผมเลยอยากให้เพื่อนๆ เตรียมตัวป้องกัน อย่าพลาดกันเหมือน 10 ปีที่แล้ว จะได้ไม่ต้องใช้คำพูดที่นักลงทุนมักพูดกันจนติดปาก “รู้งี้ขายไปก่อน” “รู้งี้รอซื้อตอนวิกฤตรวยไปแล้ว” เพื่อนๆคงเคยใช้กันใช่ไหม คำถามคือสหรัฐฯกำลังจะเกิดวิกฤตจริงหรือ
บทความนี้ได้แนวคิดมาจากหนังสือ big debt crisis ซึ่งผู้เขียนคือ Ray Dalio ซึ่งเค้าเป็นเจ้าของ Hedge Fund ที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก เค้าได้ให้ความเห็นของเค้าเกี่ยวกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งผมได้สรุปประเด็นสำคัญได้ทั้งหมด 7 ข้อ มาให้เพื่อนๆนักลงทุนได้ศึกษามุมมองของ Hedge Fund ที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลกกันครับ
1.มูลค่าสินทรัพเทียบกับอดีตของมัน
ในรูปบนคือ กราฟแสดง Shiller PE ของตลาดสหรัฐ
จากกราฟค่า Shiller PE อยู่ที่ 30.22 ถึงแม้ว่ามันไม่ใช่ค่าสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอดีต แต่ช่วงที่สูงกว่าปัจจุบันก็มีแค่ช่วงวิกฤตฟองสบู่ดอทคอมเท่านั้น และหากเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 16.57 นับได้ว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยเกือบ 2 เท่าเรียกได้ว่าเกิดฟองสบู่ระดับนึงเลยทีเดียว
และจากรูปด้านล่างคือ กราฟแสดงอัตราส่วนของราคาบ้านต่อรายได้
จะเห็นว่าปัจจุบันอยู่ในจุดที่สูงมากแล้วเมื่อเทียบกับอดีต แม้ว่าจะไม่ใช่จุดสูงสุด แต่ก็ต่ำกว่าแค่ช่วงวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์หรือวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์เท่านั้น จากตรงนี้ก็พอจะสรุปได้ว่าเกิดฟองสบู่ขึ้นแล้ว
2.ความคาดหวังกำไรต่อหุ้นในอีก 1 ปีข้างหน้า
จากรูปบนแสดงราคา S&P500 กับ EPS ใน 1 ปีข้างหน้าของ S&P500 จะเห็นว่าปัจจุบันมีการทำนายกำไรต่อหุ้นโดยรวมใน 1 ปีข้างหน้าออกมาอยู่ที่ 170 เหรียญต่อหุ้น แล้วเรามาดู EPS ปัจจุบันกันหน่อย
จากรูปล่างแสดง EPS ปัจจุบันของ S&P500 อยู่ที่ 116.64 เหรียญต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าการคาดการใน 1 ปีข้างหน้าถึง 50% เรียกได้ว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลยดีกว่าที่กำไรต่อหุ้นจะโตขึ้นกว่า 50% ในปีหน้า จากตรงนี้ถือว่าเกิดฟองสบู่เลย
3.ความเชื่อมั่นของคนส่วนใหญ่ว่าเป็น Bullish
ต้องมาพิสูจน์กันก่อนว่าที่เค้าว่ากันว่าเมื่อใดที่เห็นแม่ค้า หรือคนขับรถแท็กซี่ หรือชาวสวนชาวไร่พูดถึงหุ้น เมื่อนั้นให้เรารีบขายหุ้นออกไป เพราะหุ้นจะอยู่ในจุดที่ราคาแพงมากแล้ว เรามาดูกัน
จากกราฟด้านบนแสดงความเชื่อมั่นผู้บริโภค บริเวณสีเทาคือช่วงที่เกิดวิกฤต เราจะเห็นว่าก่อนเกิดวิกฤตความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอยู่ในจุดที่สูงเสมอ และจะร่วงลงอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดวิกฤต พูดง่ายๆคือผู้บริโภคไม่เคยรู้ตัวก่อนเกิดวิกฤตเลย และเชื่อว่าสินทรัพจะราคาขึ้นต่อไปอีก
จากกราฟจะเห็นว่าปัจจุบันความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ในบริเวณที่สูงมาก ดังนั้นจึงเรียกได้ว่าปัจจุบันเกิดฟองสบู่ขึ้นแล้ว ลองมาดูมุมมองคนทั่วๆไปในโลกโซเชียลกันบ้าง
รูปแสดงความเชื่อมันต่อตลาดหุ้นสหรัฐ จะเห็นว่าส่วนใหญ่กว่า 70% เชื่อมั่นว่าราคาหุ้นจะทำนิวไฮ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าตลาดเกิดฟองสบู่แล้ว
4.ปริมาณหนี้สินของคนในประเทศ
รูปแสดงสินเชื่อผู้บริโภค เห็นได้ชัดว่าสูงกว่าสมัยวิกฤตหนี้ซับไพรม์ถึง 70% ซึ่งก็คือการใช้จ่ายของคนในประเทศในตอนนี้ ใช้จ่ายกันด้วยเงินกู้นั้นเอง สรุปได้ว่าเกิดฟองสบู่อย่างชัดเจน
5.ลูกหนี้การค้า
กราฟแสดงปริมาณการให้เครดิตการค้า หรือพูดง่ายๆ เช่น เอาสินค้าไปก่อนอีก 3 เดือนค่อยเอาเงินมาคืน จะเห็นว่าลูกหนี้การค้าสูงขึ้นเรื่อยๆ สูงกว่าสมัยหนี้ซับไพรม์ถึง 25% จากส่วนนี้ก็พอสรุปได้บ้างว่าเริ่มเกิดฟองสบู่ขึ้นแล้ว
6.ผู้เล่นใหม่แห่กันเข้ามา
กราฟด้านบนแสดงปริมาณผู้เล่นในตลาดหุ้นเทียบกับจำนวนคนทั้งหมดที่มีเงินพอจะลงทุน จะเห็นว่ามีแนวโน้มลดลงนิดหน่อย ในส่วนนี้มองว่าคนไม่ได้แห่กันเข้ามาลงทุนในหุ้น จึงบอกว่าเกิดฟองสบู่ไม่ได้ แต่เราลองมาดูในตลาดบ้านกันบ้าง
จากรูปด้านล่างแสดงปริมาณผู้เล่นใหม่ที่เข้ามาซื้อบ้าน พบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นชัดเจนตั้งแต่ปี 2012 หรือพูดได้ว่า แห่กันมาลงทุนในตลาดบ้านกัน อาจเป็นเพราะกระแสที่ว่าราคาบ้านจะพุ่งสูงขึ้น จนผู้เล่นใหม่ๆสนใจเข้ามาลงทุนกันมากขึ้นเรื่อย เหตุการณ์แบบนี้สามารถสรุปได้เลยว่าเกิดฟองสบู่ในตลาดบ้านแล้ว ฟองสบู่เศรษฐกิจไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกันในทุกๆสินทรัพย์ แต่จะเกิดขึ้นกับบ้างสินทรัพก่อน แล้วในที่สุดก็จะเกิดขึ้นในทุกๆสินทรัพย์เอง
7.นโยบายการเงิน
มาดูกันว่านโยบายการเงินตอนนี้ของสหรัฐฯเป็นแบบกระตุ้นเศรษฐกิจหรือชะลอเศรษฐกิจกัน
จากภาพบนแสดงดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง พบว่าปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่งเราคาดหวังกันว่าในเดือนธันวาคมนี้จะปรับขึ้นอีก ในส่วนของนโยบายการเงินนี้ก็เรียกได้ว่ากระตุ้นเศรษฐกิจอยู่เพราะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำ เราลองมาดูนโยบายการคลังกันบ้าง
จากรูปล่างแสดงการดำเนินนโยบายขาดดุลของรัฐบาล จะเห็นว่าขาดดุลอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นการดำเนินนโยบายแบบกระตุ้นเศรษฐกิจมานาน
ดังนั้นในส่วนนี้เราจำสรุปได้ว่าสหรัฐกำลังดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการก่อฟองสบู่ขึ้นไปอีกนั้นเอง
สรุป จากทั้งหมด 7 ข้อที่เราพิจารณากันทุกๆข้อบ่งบอกว่าตอนนี้อยู่ในฟองสบู่เรียบร้อยแล้ว คำถามคือแล้วเราควรทำอย่างไรต่อ มันเป็นเรื่องที่ยากที่จะบอกได้ว่าคุณควรทำอย่างไร เพราะมันขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ช่วงไหนของชีวิต บ้างคนอาจพึ่งทำงาน บางคนอาจอยู่ในวัยเกษียณ ซึ่งแต่ละวัยก็รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน แต่ที่แน่ๆ หากใครที่ลงทุนในหุ้นอยู่ 100 % ผมแนะนำให้ลดขนาดการลงทุนในหุ้นลง เพราะหุ้นถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ในสภาวะเศรษฐกิจโลกเป็นแบบนี้คุณควรลดความเสี่ยงลง ตราสารหนี้ ทองคำ ถือเป็นสินทรัพที่มีความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะทองที่มีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเมื่อเศรษฐกิจโลกแย่ หรือการถือเงินสดก็อาจเป็นทางเลือกที่ดี ลดความโลภลงในยามที่ภาพรวมเล่นยาก และรอโอกาสเข้าซื้อของถูกในยามวิกฤต เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส โชคดีครับ
#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ
#อินเตอร์โกลด์ #InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง
?สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade
?สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
?Website : www.intergold.co.th
?Line : @intergold
?Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
☎️Call : 02 – 2233 – 234